Page 182 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 182
เยาวชนเพศชาย ขณะเดียวกัน ยุทธศาสตร์นี้ผลิตซ ้าทัศนคติต่อเรื่องนี้ในเชิงลบ เช่น มองว่าการตั้งครรภ์ของ
เยาวชนหญิงเป็นความไม่พร้อม โดยไม่มองว่าเยาวชนหญิงเองก็มีความสามารถที่จะตัดสินใจเองว่าจะตั้งครรภ์
หรือไม่
ตามแผนยุทธศาสตร์นี้ ท าให้ สธ.จัดโครงการที่น่าสนใจมากมาย เช่น การท าค่ายแกนน าวัยรุ่น กิจกรรม walk rally
อนามัยเจริญพันธุ์ จัดขึ้นทั้งในชุมชนและในโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อป้ องกันการท้องของเยาวชนหญิง แต่หลักๆ คือ ให้
เยาวชนหญิงรักนวลสงวนตัว ให้เก็บรักษาพรหมจรรย์เป็นสิ่งที่ผู้หญิงควรท า ขณะเดียวกัน ก็ชี้น าให้เห็นว่า การท า
แท้งเป็นอันตราย น าไปสู่ความตายหรือพิการได้ แต่ไม่บอกว่า อาจเป็นทางเลือกนึงในการแก้ไขปัญหาการ
ตั้งครรภ์
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กระทรวงนี้เน้นการป้ องกันเป็นหลัก คือ ป้ องกันไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ของเยาวชนในวัยเรียน โดยมียุทธศาสตร์เชิง
รุก ๓ ด้าน คือ (ก) การสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่ให้ นร.มีเพศสัมพันธ์ หรือ No Sex (ข) ยุทธศาสตร์ที่
ท างานกับเยาวชนที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว โดยเน้นที่การป้ องกัน หรือ Safe Sex (ค) การจัดตั้งภาคีเครือข่าย
อาสาสมัคร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤติของ นร. โดยมีการเฝ้ าระวัง นร. ๔ ด้าน (ทะเลาะวิวาท ความสัมพันธ์
เชิงชู้สาว การหนีเรียน การติดยาเสพติด) ตรงนี้มีปัญหาตรงที่ท าให้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของ นร.อยู่ในกลุ่ม
เดียวกับปัญหายาเสพติด และการทะเลาะวิวาท
นอกเหนือจากนี้ ศธ.ก็ยังได้ร่วมมือกับองค์กร PATH และ สสส. เพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับการป้ องกันการตั้งครรภ์
ในวัยเรียน หรือโครงการ Up to Me (๒๕๕๔) แต่บทสรุปของโครงการมันไปจบที่ว่า การป้ องกันที่ดีที่สุดก็คือ การ
ไม่มีเพศสัมพันธ์นั่นเอง อย่างไรก็ดี นิมิตหมายที่ดีอันหนึ่งก็คือ ตัวเอกสารของโครงการนี้มีการแนะน าว่า หาก
ต้องการยุติการตั้งครรภ์ จะต้องท าอย่างไรบ้าง หรือกรณีที่ต้องการด ารงครรภ์ไว้ หลังคลอดแล้ว จะไปขอความ
ช่วยเหลือจากภาครัฐได้ที่ไหน อย่างไร มีบ้านพักที่ไหนบ้าง แต่น่าสังเกตว่าไม่มีการให้ข้อมูลสถานที่ยุติการ
ตั้งครรภ์ เยาวชนก็จะต้องไปเสาะหาสถานที่กันเอาเอง
บทสรุปจากการส ารวจกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเกี่ยวกับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม แม้ว่ารัฐไทยจะลง
นามในอนุสัญญาและปฏิญญาต่างๆ ซึ่งผูกมัดให้รัฐต้องมีบริการ ให้สิทธิต่างๆ เหนือเนื้อตัวร่างกาย และสร้างสุข
ภาวะทางเพศที่ดี แต่ในทางปฏิบัติจริง รัฐไทยยังไม่ให้ความส าคัญในประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนไทย
แม้กระทั่งการยุติการตั้งครรภ์ก็ถูกบัญญัติว่าเป็นอาชญากรรม มีบทลงโทษชัดเจน และการตัดสินใจเรื่องนี้ขึ้นอยู่
กับคนอื่น (แพทย์ เจ้าหน้าที่รัฐ พ่อแม่) ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับตัวเยาวชนที่ประสบปัญหาโดยตรง ทั้งๆ ที่นี่เป็นส่วนหนึ่งของ
ประเด็นสิทธิมนุษยชน
ค-๙