Page 176 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 176

เหตุผลที่เลือก ๓ ประเทศนี้ก็เพราะทั้ง ๓ ประเทศมีบริบทที่แตกต่างกันมากทั้งในมิติด้านสังคม วัฒนธรรมและ

               ศาสนา กล่าวคือ

               ก. ประเทศเวียดนาม


               ประชากรร้อยละ ๘๒ ถือว่าตัวเองไม่มีศาสนา  แต่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อ และเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้า

               มากในเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ นั่นคือ เป็นประเทศแรกในเอเชียและเป็นประเทศที่ ๒ ของโลกที่ลงนามในอนุสัญญา
               ว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ Child Right Convention


               โดยในปี ๑๙๖๐ มีการออกกฎหมายการสมรสและครอบครัว  ส่วนปี ๑๙๘๙ ออกกฎหมายคุ้มครองสุขภาพของ

               ประชาชน (Law on Protection of People’s Health) ซึ่งรับรองสิทธิของประชาชนในการเลือกวิธีการคุมก าเนิดอัน
               รวมถึงการท าแท้ง ซึ่งเหตุผลหลักที่อนุญาตให้ท าแท้งก็เพื่อวางแผนประชากรคล้ายๆ ประเทศจีน


               ส่วนแผนยุทธศาสตร์ด้านประชากรแห่งชาติ นั้น ประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาหลักของแผนฯ

               ช่วงปี ๒๐๐๑-๒๐๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งก็เพื่อลดการตั้งครรถ์ไม่พึงประสงค์และลดอัตราการท าแท้งอย่าง
               จริงจัง โดยเฉพาะการท าแท้งในวัยรุ่น


               ข้อจ ากัดในการศึกษาวิจัยชิ้นนี้ได้แก่ กฎหมายที่น ามาศึกษาจะจ ากัดอยู่เฉพาะกฎหมายที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ

               แล้วเท่านั้น และกฎหมายบางฉบับ เลือกเฉพาะบางมาตราที่เกี่ยวข้อง  แต่พยายามเลือกกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน

               ประเด็นเยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสุขภาพ กฎหมายเรื่องการสมรสและครอบครัว กฎหมาย
               เกี่ยวกับคุ้มครองเด็ก แผนยุทธศาสตร์แห่งชาติเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ รวมถึงรายงานศึกษาวิจัยต่างๆ


               เมื่อวิเคราะห์ดูตัวสิทธิต่างๆ ที่ปรากฏในกฎหมาย มักเริ่มต้นด้วยการระบุว่า ทุกคนมีสิทธิในด้านใดบ้าง คือ จะใช้

               ค าว่า “ทุกคน” แต่พอเข้าไปดูในรายละเอียดของกฎหมายแต่ละมาตรา จะมีข้อจ ากัดว่า คนที่จะเข้าถึงสิทธินั้น
               ไม่ใช่ทุกคนที่มีสิทธิตามนั้น เช่น กฎหมายในเรื่องการสมรส ก็จะระบุเลยว่า เฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้วเท่านั้น จะเห็น

               ว่ากฎหมายมีความย้อนแย้งกันเองอยู่ภายในกฎหมาย


               กฎหมายที่น ามาศึกษามักระบุถึงสิทธิของเด็กที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ สิทธิในการศึกษา
               สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม


               นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ โดยกฎหมายป้ องกันสุขภาพของประชาชน (Law on Protection of

               People’s Health มีการพูดถึงสุขภาพมารดาและบุตร รวมไปถึงการท าแท้ง โดยบอกว่า ผู้หญิงทุกคนสามารถ

               เข้าถึงบริการด้านนี้ได้ โดยการตัดสินใจของเธอเอง








                                                                                                              ค-๓
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181