Page 175 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน ฉบับสมบูรณ์
P. 175

ระเบียบวิธีวิจัย

               พื้นที่การวิจัย:  กทม. นครปฐม นนทบุรี เพชรบุรี เป็นตัวแทนทั้งพื้นที่ในเมืองและชนบท


               วิธีการเก็บ : (ก) การวิจัยเอกสาร และ (ข) สัมภาษณ์เชิงลึก เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมจ านวน ๓๒ คน (ทั้งที่

               ตั้งครรภ์ต่อและที่ยุติการตั้งครรภ์)  เยาวชนชายอีก ๒๐ คนซึ่งท าผ่านการสนทนากลุ่ม ๑ กลุ่มต่อ ๑ พื้นที่ แต่ละ

               กลุ่มมีเยาวชนชาย ๕ คน  และสัมภาษณ์ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ที่ท างานจัดบริการให้เยาวชนตั้งครรภ์ไม่พร้อม
               จ านวน ๒๐ คน


               ระยะเวลาเก็บข้อมูล  ๖ เดือน (ก.ย.๔๕ ถึง มี.ค.๕๕)

               กรอบแนวทฤษฎีที่ใช้  ใช้ทฤษฎีพื้นดิน หรือ Grounded theory หมายถึงไม่ติดกับทฤษฎีใดๆ แต่น าชุด

               ประสบการณ์ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมาศึกษาถึงบริบท ปัญหาของการละเมิดสิทธิหรือการได้รับการ

               คุ้มครอง   นอกจากนี้ ยังได้มีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติกา

               ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
               และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรือ CEDAW อนุสัญญาว่าด้วย

               สิทธิเด็ก และแผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา และแผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของสตรี ซึ่งเกิดปี ค.ศ.

               ๑๙๙๔


               ส่วนปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ดังที่ละครได้เล่นไปแล้ว ทีมวิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
               ดังต่อไปนี้มาวิเคราะห์ว่า น้องที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้บรรลุสิทธิหรือถูกละเมิดสิทธิด้านใดบ้าง

                     (๑) สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                     (๒) สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล สิทธิในความเสมอภาคและการไม่ถูกเลือกปฏิบัติทุก

               รูปแบบ

                     (๓) สิทธิในการได้รับความปลอดภัยจากการถูกทารุณกรรมและการปฏิบัติมิชอบ
                     (๔) สิทธิในความเป็นส่วนตัวและสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้รับการศึกษาต่อ

                     (๕) สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่ มีเมื่อไหร่ สิทธิในการสมรส และวางแผนครอบครัว

                     (๖) สิทธิเสรีภาพแห่งความคิด
                     (๗) สิทธิในการดูแลและป้ องกันสุขภาพ





               คุณสุวรรณี หาญมุสิกวัฒน์กูร  นักวิจัยโครงการได้น าเสนอกฎหมายของ ๓ ประเทศ โดยเลือกประเทศที่อยู่ใน
               ภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เนื่องจากเราก าลังก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๕




                                                                                                              ค-๒
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180