Page 74 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 74
ราชประสงค์ได้ประกาศยุติการชุมนุม แล้วเข้ามอบตัวที่สำานักงานตำารวจแห่งชาติ ซึ่งการเผา
และทำาลายทรัพย์สินในครั้งนี้ เป็นลักษณะการกระทำาที่แกนนำาของกลุ่ม นปช. ได้เคยปราศรัยยั่วยุ
แก่กลุ่มผู้ชุมนุมไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
พฤติการณ์ของการกระทำาในการเผาอาคารทรัพย์สินนั้น ได้แผ่ขยายไปถึง
การเผาศาลากลางในหลายจังหวัดในเวลาต่อมา จนกระทั่งมีการจับกุมผู้ก่อเหตุและดำาเนินคดี
ตามกฎหมาย ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เป็นการ
ชุมนุมที่มีลักษณะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมืองและ
เผาทำาลายทรัพย์สินของบุคคลอื่น รวมทั้งทรัพย์สินของทางราชการได้รับความเสียหายจำานวนมาก
จึงเป็นการกระทำาละเมิดสิทธิในทรัพย์สินผู้อื่น ซึ่งรัฐธรรมนูญให้การคุ้มครองไว้ ตามมาตรา ๔๑
และเป็นการกระทำาผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น วางเพลิงเผาทรัพย์
อันเป็นสถานที่ราชการ ทำาลายทรัพย์สินราชการและทรัพย์สินเอกชน รวมทั้งลักทรัพย์ของผู้อื่น
การกระทำาดังกล่าวจึงเป็นการกระทำาที่กระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่น อันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน
สำาหรับประเด็นด้านประสิทธิภาพ การบริหารจัดการของรัฐบาลในการปฏิบัติ
การที่ใช้มาตรการของรัฐบาลที่ใช้ในพื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่
๑๓ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เห็นว่า แม้รัฐบาลจะใช้อำานาจตามพระราชกำาหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ด้วยเหตุจำาเป็นสมควร แต่การดำาเนินการของ
เจ้าหน้าที่ทหารดังกล่าวที่ปรากฏการยิงปะทะกับกลุ่มผู้ติดอาวุธที่แฝงตัวในฝ่ายผู้ชุมนุม ย่อมเป็น
ส่วนหนึ่งให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งรัฐ
ต้องเยียวยาและหาตัวผู้กระทำาผิดมาดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
สำาหรับกรณีการเสียชีวิตของพลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
กรมสอบสวนคดีพิเศษได้พิจารณากรณีนี้ไปตามอำานาจหน้าที่แล้ว รวมทั้งกรณีของ นายฟาบิโอ
โปเลงกี (Mr.Fabio Polenghi) ผู้สื่อข่าวชาวอิตาเลียนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ ได้มีการดำาเนินการ
ตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม โดยพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ ๔ ได้ยื่น
คำาร้องขอให้ศาลไต่สวนการตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐
เป็นคดี ที่ ช. ๑๐/๒๕๕๕ ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ไต่สวนคำาร้องดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ ๑๕
มีนาคม ๒๕๕๖ ดังนั้น เมื่อหน่วยงานที่มีอำานาจหน้าที่โดยตรงได้ดำาเนินการกับทั้งสองกรณีแล้ว
้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงไม่ต้องดำาเนินการตรวจสอบซำาอีก แต่อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องใช้หลักวิชาตามกำาลังความรู้ความสามารถในการ
อำานวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ และไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยควรดำาเนินการสืบสวนสอบสวน
และคลี่คลายให้สังคมได้รับรู้ พร้อมทั้งลงโทษผู้กระทำาความผิดตามกระบวนการยุติธรรมด้วย
ทั้งนี้ เพื่อทำาความจริงให้ปรากฏ และนำามาซึ่งความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
72
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓