Page 73 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 73

เพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

                     ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
                     หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก  ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐

                     มาตรา ๖๓  บัญญัติให้กระทำาได้

                                      อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติของรัฐบาลระหว่าง วันที่ ๑๓ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
                     ได้ปรากฏเหตุการณ์ยิงปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับกลุ่มบุคคลผู้ติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ใน

                     กลุ่มผู้ชุมนุม จนเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบไปถึงประชาชนผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ซึ่งศูนย์
                     บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)  ได้รวบรวมข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

                     จากสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  มีผู้บาดเจ็บ
                     จำานวน ๔๐๔ คน  เสียชีวิต จำานวน ๕๑ คน  รวมผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ทั้งหมด ๔๕๕ คน

                     จากเหตุการณ์ดังกล่าว  แม้รัฐบาลจะดำาเนินการโดยอาศัยอำานาจตามกฎหมาย  แม้จะยังไม่มี
                     พยานหลักฐานยืนยันได้ว่า  ผู้ใดฝ่ายใดเป็นผู้ยิงผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บดังกล่าว  และกลุ่มบุคคล

                     ผู้ติดอาวุธที่แฝงตัวในกลุ่มผู้ชุมนุมคือใครก็ตาม  แต่เมื่อปรากฏความเสียหายต่อชีวิตร่างกายของ
                     บุคคลเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการนี้  ผลที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปได้ว่า อาจเกิดจากการกระทำา

                     ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อาวุธด้วย  รัฐบาลจึงมีหน้าที่รับผิดชอบในการเยียวยาช่วยเหลือ
                     แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว  รวมทั้งครอบครัวผู้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว

                     ด้วยเหตุที่ผู้ได้รับบาดเจ็บนั้นตกอยู่ในสภาพพิการจากเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น

                                      นอกจากนี้  รัฐบาลยังมีหน้าที่ต้องดำาเนินการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำาผิด
                     มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป  รวมทั้งการตรวจสอบการกระทำาของเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า
                     ผู้ใดได้กระทำาการที่เกินมาตรการตามกฎหมายที่รัฐบาลโดย ศอฉ. กำาหนดไว้หรือไม่ อย่างไร

                                      สำาหรับประเด็นสิทธิในทรัพย์สินนั้น  ตามข้อเท็จจริง  เหตุการณ์เมื่อวันที่

                     ๑๓ – ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  มีการเผาอาคารสถานที่ต่างๆ บริเวณถนนพระราม ๔ ย่านบ่อนไก่
                     ได้แก่  ร้านค้า และอาคารธนาคาร  และโดยเฉพาะ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ หลังจากแกนนำา

                     ประกาศยุติการชุมนุม ได้เกิดเพลิงไหม้อาคารห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า
                     เซ็นทรัลเวิลด์  สยามสแควร์  และห้างสรรพสินค้าเซ็นเตอร์วัน  ซึ่งบริเวณห้างสรรพสินค้า

                     เซ็นทรัลเวิลด์ มีพยานยืนยันว่า  เกิดการปะทะกันระหว่างพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างกับ
                     การ์ดของกลุ่ม นปช. และกลุ่มชายชุดดำา  แล้วจึงเกิดการเผาอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิลด์

                     ในเวลาต่อมา  อีกทั้งมีการเข้าไปลักทรัพย์ในศูนย์การค้าดังกล่าวด้วย  นอกจากนี้ จากพยาน
                     หลักฐานที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ซึ่งผู้สื่อข่าวของสำานักข่าวแห่งหนึ่งได้มอบให้ไว้ในขั้นการตรวจสอบ

                     ข้อเท็จจริง  ปรากฏภาพเหตุการณ์ยืนยันว่า  การเผาอาคารในบริเวณสี่แยกราชประสงค์และบริเวณ
                     ใกล้เคียงนั้น  มีผู้กระทำาบางคนอยู่ภายในพื้นที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช.  และสาเหตุที่กระทำานั้น

                     ส่วนหนึ่ง อาจเป็นเพราะบุคคลเหล่านั้น เกิดความไม่พอใจจากการที่แกนนำากลุ่ม นปช. ที่เวที




                                                            71
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78