Page 71 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 71

สำาหรับกรณีความมีอยู่จริงของชายชุดดำา  มีพยาน ๕ คน ต่างให้การสอดคล้อง

                     ต้องกันว่า  มีกลุ่มชายชุดดำาอยู่ในพื้นที่การชุมนุมจริง  โดยพยานบุคคลรายหนึ่งให้ข้อเท็จจริงว่า
                                                                                             ่
                     กลุ่มผู้ชุมนุมรวมถึงกลุ่มชายชุดดำาจะมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้วิทยุคลื่นความถี่ตำา  มีการส่ง
                     เสบียงอาหาร  รวมถึงยางรถยนต์ที่จะนำามาใช้เป็นบังเกอร์และเป็นเชื้อไฟ  มีการว่าจ้างให้เยาวชน
                     จากนอกพื้นที่เป็นผู้เผายางรถยนต์และยิงพลุ  สังเกตแล้วเห็นได้ชัดว่า มีการวางแผนการทำางาน

                     เป็นอย่างดี  นอกจากนี้ พยานบุคคลอีกรายให้ข้อเท็จจริงว่า ก่อนเกิดเหตุเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ นั้น
                     ปรากฏว่ามีการปะทะกันระหว่างพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างกับกลุ่มชายชุดดำา โดยมี

                     การโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วย

                                      ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้รวบรวมข้อมูล
                     ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๙ พฤษภาคม

                     ๒๕๕๓  มีผู้บาดเจ็บ จำานวน ๔๐๔ คน  เสียชีวิต จำานวน ๕๑ คน  รวมผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
                     ทั้งหมด ๔๕๕ คน



                                      ความเห็น


                                      ประเด็นที่ต้องพิจารณามีว่า  การสั่งการของรัฐบาลและการปฏิบัติการของ
                     เจ้าหน้าที่ของรัฐต่อการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นการ

                     กระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

                                      พิจารณาแล้วเห็นว่า  เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓  รัฐบาลโดย ศอฉ.
                     ได้ประกาศใช้มาตรการ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในพื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์และพื้นที่
                                                                 ้
                     ใกล้เคียง  โดยปิดทางเข้าบริเวณที่ชุมนุม การตัดนำา ตัดไฟ สาธารณูปโภค โทรศัพท์ ตัดการ
                                                                                         ้
                     เดินทางโดยบริการสาธารณะ รถโดยสารประจำาทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส เส้นทางนำาคลองแสนแสบ
                     เข้าพื้นที่ชุมนุม  ซึ่งการใช้มาตรการดังกล่าวเป็นผลให้กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเกิดความไม่พอใจและ
                     มีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นการก่อความไม่สงบในเวลาต่อมา ทั้งยังปรากฏว่ามีการยิงปะทะกัน

                     ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารกับบุคคลผู้มีอาวุธที่ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นผู้ใดหรือฝ่ายใดในหลาย
                     พื้นที่  ตั้งแต่บริเวณย่านบ่อนไก่ ถนนพระราม ๔  ถนนราชปรารภ  บริเวณแยกดินแดง  บริเวณ

                     แยกสารสิน  บริเวณสวนลุมพินี  ถนนวิทยุ  ตั้งแต่วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓  ถึงวันที่ ๑๙
                     พฤษภาคม ๒๕๕๓  และโดยเฉพาะบริเวณแยกบ่อนไก่ ถนนพระราม ๔  มีพยานบุคคลหลายราย

                     ให้ถ้อยคำายืนยันถึงการปฏิบัติการของกลุ่มบุคคลติดอาวุธที่มีการสื่อสารโดยวิทยุสื่อสารลักษณะ
                     เป็นกระบวนการ  รวมทั้งมีบุคคลจำานวนหนึ่งนำายางรถยนต์จำานวนมาก ทำาเป็นแนวป้องกันและ

                     จุดไฟเผากลางถนนให้เกิดควันดำาในลักษณะที่อำาพรางและให้เกิดความวุ่นวายทั่วไปในใจกลาง
                     พื้นที่กรุงเทพมหานคร






                                                            69
                                                รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                   กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76