Page 25 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 25
จากนั้นคณะทำางานฯ ได้มีการปรับแก้ไขร่างรายงานฯ ตามความเห็นที่ประชุม แล้วนำาเสนอ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณา เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ และคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นควรให้ปรับแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อความรอบคอบและได้รับการตรวจสอบ
และทบทวนในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
ต่อมา เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติได้มีการประชุมนัดพิเศษ และมีความเห็นให้ทบทวนผลการดำาเนินการและข้อเท็จจริง
ที่สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเสนอ ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นว่า เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง (ตามคำาสั่ง
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ ๕๗/๒๕๕๓) และคณะทำางานแสวงหาข้อเท็จจริง (ตาม
คำาสั่งสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ ๖๑/๒๕๕๓) ได้จัดส่งรายงานให้คณะ
อนุกรรมการทั้ง ๓ คณะ (ตามคำาสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ ๔๘/๒๕๕๓ ที่ ๔๙/
๒๕๕๓ และที่ ๕๐/๒๕๕๓) แล้ว จึงเห็นควรเปลี่ยนรูปแบบการทำางาน โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ
มาร่วมพิจารณาร่างรายงานเพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ต่อไป โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง
ชาติได้ออกประกาศคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรื่อง การขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิและ
ผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะอนุกรรมการ
และสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งภายหลังจากที่มีการขึ้นทะเบียนผู้ทรงคุณวุฒิ
และผู้เชี่ยวชาญแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เชิญบุคคลเหล่านี้ร่วมประชุมเพื่อ
พิจารณาและให้ความเห็นประกอบการจัดทำาร่างรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. รวมถึงการรับฟังการให้ข้อเท็จจริงและพยาน
หลักฐานจากการเชิญบุคคลสำาคัญที่เป็นแกนนำาของรัฐบาล แกนนำากลุ่ม นปช. มาให้ข้อมูลต่อ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพิ่มเติมด้วย
๒.๔.๒ การแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน
จากเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม
๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ปรากฏว่า หลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีความสลับซับซ้อน
สร้างความสับสนต่อสังคมจนไม่สามารถรู้ความจริงได้ว่า กลุ่มใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้กระทำาหรือ
ละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการและคณะทำางานในคณะ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ดำาเนินการตรวจสอบ แสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อนำาไปสู่การสรุป
ความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งในภาพรวมของการชุมนุมตั้งแต่ต้นจนยุติ
โดยการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจาก
๑) ประกาศ คำาสั่งของทางราชการ ที่ได้รับเป็นเอกสารประกอบคำาชี้แจงของ
รองผู้บัญชาการทหารบกและศูนย์อำานวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) รวมทั้งกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง
23
รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓