Page 24 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 24

ในการดำาเนินการของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง ๓ คณะ ซึ่งแต่งตั้งโดย

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ตามคำาสั่ง ที่ ๔๘/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓
                  คำาสั่ง ที่ ๔๙/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓  และคำาสั่ง ที่ ๕๐/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๒

                  พฤษภาคม ๒๕๕๓ ข้างต้นนั้น  ได้มีการประชุมรวมทั้งสิ้น ๑๑ ครั้ง  ทั้งนี้ ในระหว่างการดำาเนินการ
                  ของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง ๓ คณะ  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่า  มีข้อจำากัด

                  ในเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานซึ่งมีอยู่เป็นจำานวนมาก  ดังนั้น เพื่อให้
                  การรวบรวมพยานหลักฐานมีความคล่องตัว และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  คณะกรรมการสิทธิ

                  มนุษยชนแห่งชาติจึงมีคำาสั่ง ที่ ๕๗/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งพนักงาน
                  เจ้าหน้าที่เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานกรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุม

                  ของกลุ่ม นปช.  ประกอบด้วย  เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ผู้ทรงคุณวุฒิ
                  นักวิชาการ  เจ้าหน้าที่สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำานวน ๓๑ คน เป็น

                  พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำานาจหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน กรณีเหตุการณ์
                  ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช.  เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  หรือสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แล้วแต่กรณี  ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
                  คำาสั่ง ที่ ๕๗/๒๕๕๓  มีหน้าที่หลักในการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน

                  ส่วนการสรุปและวิเคราะห์พยานหลักฐาน กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของ
                  กลุ่ม นปช. นั้น  สำานักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ออกคำาสั่ง ที่ ๖๑/๒๕๕๓

                  ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๓  เรื่อง แต่งตั้งคณะทำางานแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวม
                  พยานหลักฐาน  กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. โดยมีเลขาธิการ

                  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นประธาน  มีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการจากหน่วยงานภายนอก
                  และเจ้าหน้าที่สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมจำานวน ๑๐ คน เป็น

                  คณะทำางาน  มีอำานาจหน้าที่สรุปและวิเคราะห์พยานหลักฐาน กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการ
                  ชุมนุมของกลุ่ม นปช. เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือคณะอนุกรรมการ

                  ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แล้วแต่กรณี
                                          พนักงานเจ้าหน้าที่ ฯ ตามคำาสั่ง ที่ ๕๗/๒๕๕๓ และคณะทำางาน ฯ

                  ตามคำาสั่ง ที่ ๖๑/๒๕๕๓  มีการดำาเนินงานตามอำานาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  เริ่มตั้งแต่เดือน
                  มิถุนายน ๒๕๕๓  อาทิ สอบปากคำาพยานที่เกี่ยวข้องในแต่ละเหตุการณ์ ลงพื้นที่หาข้อเท็จจริง

                  มีหนังสือขอข้อมูลจากบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมพยานหลักฐาน และเอกสารที่
                  เกี่ยวข้อง  รวมถึงประชุมหารือเพื่อวิเคราะห์พยานหลักฐานที่ได้รับ  จนกระทั่งจัดทำาร่างรายงาน

                  ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการชุมนุมของ นปช. แล้วเสร็จ  และได้นำาเสนอร่างรายงานฯ ต่อ
                  คณะอนุกรรมการฯ ๓ คณะ  ในคราวประชุมร่วมทั้ง ๓ คณะ  เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔

                  ณ  โรงแรมรามาการ์เด้น  กรุงเทพฯ  ซึ่งในการประชุมดังกล่าว อนุกรรมการฯ ที่เข้าร่วมประชุม
                  ได้มีการอภิปราย แสดงความเห็น และข้อเสนอแนะต่อรายงานฉบับดังกล่าวอย่างหลากหลาย



                                                         22
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29