Page 22 - รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย : กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
P. 22

๒.๔  กระบวนการทำางานตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน

                                   ๒.๔.๑  การตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำางาน
                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีคำาสั่ง ที่ ๓๙/๒๕๕๓ ลงวันที่

                  ๑ เมษายน ๒๕๕๓  แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อทำาการศึกษาและตรวจสอบการร้องเรียน
                  เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมทางการเมือง  โดยมีประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                  เป็นประธาน  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและเจ้าหน้าที่สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติ เป็นกรรมการ รวม ๑๑ คน

                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีคำาสั่ง ที่ ๔๓/๒๕๕๓ ลงวันที่
                  ๒๓ เมษายน ๒๕๕๓  เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาตรวจสอบกรณี

                  เหตุการณ์ความรุนแรงจากการขอคืนพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓  โดยมี
                  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นประธานอนุกรรมการ  และแต่งตั้งอนุกรรมการจาก

                  ผู้แทนภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน รวม ๑๙ คน เป็นอนุกรรมการ
                  ให้มีอำานาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิ

                  มนุษยชน การไกล่เกลี่ย การส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์กร
                  เอกชน และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ระยะเวลาปฎิบัติงาน ๑๒๐ วัน

                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีคำาสั่ง ที่ ๔๔/๒๕๕๓ ลงวันที่
                  ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓  เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อตรวจสอบด้านกฎหมายและ

                  ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม  เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๓  โดยมี พลตำารวจเอก วันชัย
                  ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธานอนุกรรมการ  และแต่งตั้งอนุกรรมการ

                  จากผู้แทนภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน เป็นต้น ให้มีอำานาจหน้าที่
                  ในการตรวจสอบการกระทำา หรือการละเลยการกระทำา อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การ

                  ไกล่เกลี่ย การส่งเสริมความร่วมมือ และประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์กรเอกชน และ
                  องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ

                                          คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีคำาสั่ง ที่ ๔๕/๒๕๕๓ ลงวันที่
                  ๒๙ เมษายน ๒๕๕๓  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อพิจารณาแสวงหาข้อเท็จจริงและ

                  รวบรวมพยานหลักฐาน กรณีเหตุการณ์ความรุนแรงจากการขอพื้นที่จากกลุ่มผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ ๑๐
                  เมษายน ๒๕๕๓  โดยมีนายนิรันดร์  พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นประธาน

                  อนุกรรมการ  และแต่งตั้งอนุกรรมการจากผู้แทนภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ องค์กรเอกชน
                  สื่อมวลชน เป็นต้น  ให้มีอำานาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำาหรือการละเลยการกระทำา

                  อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การไกล่เกลี่ย การส่งเสริมความร่วมมือ และประสานงานระหว่าง
                  หน่วยราชการ องค์กรเอกชน และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช

                  ๒๕๕๐ ต่อมา นายนิรันดร์  พิทักษ์วัชระ ได้ลาออกจากการเป็นประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ





                                                         20
                                             รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                                กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27