Page 57 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 57

ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก 31
                                                               รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ








                          ช่วงเวลา                                 เหตุการณ์

                                            ในพื้นที่แม่เมาะเกินกว่าค่าที่กฎหมายกำาหนด ซึ่งคือ ๑,๓๐๐ ไมโครกรัมต่อ
                                            ลูกบาศก์เมตร เป็นเวลา ๕๐ เดือนจากระยะเวลา ๗๐ เดือน  ทำาให้

                                            ประชาชนที่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำาปาง มีอาการเยื่อบุจมูก
                                            เยื่อบุคอ เยื่อบุตาอักเสบ และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เหตุการณ์นี้
                                            ทำาให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซต้นเหตุจากโรงไฟฟ้าและมีการเฝ้าระวัง
                                            คุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง  แต่การดูแลสุขภาพประชาชนยังเป็นลักษณะ
                                            ของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ มีการตรวจสุขภาพขณะเกิดเหตุ แต่ไม่มี
                                            การเฝ้าระวังในระยะยาว

                        พ.ศ. ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐   ครูและนักเรียนโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคารได้รับกลิ่นเหม็นผิดปกติ
                                            แล้วมีอาการปวดศีรษะ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘ จนกระทั่งเดือนมิถุนายน ๒๕๔๐
                                            ได้รับกลิ่นเหม็นรุนแรงมากขึ้น  สถิติการเจ็บป่วยของนักเรียนและครูเฉลี่ย
                                            วันละ ๔๐ คน  ด้วยอาการปวดศีรษะ เจ็บคอ แสบจมูก แน่นหน้าอก หายใจ
                                            ไม่ออก และมีผื่นคันตามผิวหนัง  จนในที่สุด มีการย้ายโรงเรียนจากที่ตั้ง
                                            เดิมมาอยู่ในที่ปัจจุบัน ซึ่งห่างจากเดิมประมาณ ๕ กิโลเมตร  แต่ไม่เกิดการ

                                            เรียนรู้จากเหตุการณ์ดังกล่าวในด้านการลดมลพิษและการเฝ้าระวังคุณภาพ
                                            อากาศ รวมทั้งไม่เกิดระบบการเฝ้าระวังสุขภาพในระยะยาวสำาหรับ
                                            ประชาชนกลุ่มเสี่ยง
                        ๓๐ ธันว�คม ๒๕๔๗     ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายชุมชนตะวันออกพิทักษ์สิ่งแวดล้อม  อำาเภอบ้านฉาง
                                            (คชบ.) ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กรณีบริษัท

                                            นิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จำากัด ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ ๒ ตำาบลบ้านฉาง อำาเภอ
                                            บ้านฉาง  จังหวัดระยอง  ยื่นคำาขอแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
                                            บริเวณอุตสาหกรรมหลักและชุมชน  จังหวัดระยอง พ.ศ.๒๕๔๖  ข้อ ๑๐
                                            (๘.๒)  ที่ระบุว่า  ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า ห้ามใช้ประโยชน์
                                            เพื่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลที่ใช้วัตถุดิบซึ่งได้จากการ
                                            กลั่นน้ำามันปิโตรเลียมหรือการแยกก๊าซธรรมชาติ  ซึ่งประชาชนในพื้นที่ได้
                                            ร่วมกันคัดค้านเป็นจำานวนมาก  แต่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกลับมี

                                            ความเห็นให้แก้ไขตามที่บริษัทฯ เสนอ
                        พ.ศ.๒๕๔๗ - ๒๕๔๘     ประชาชนในพื้นที่ตำาบลทับมา  ตำาบลปากน้ำาระยอง  ชุมชนเกาะกก-หนอง
                                            แตงเม  และปากน้ำาประแสร์  จังหวัดระยอง  ได้รับความเดือดร้อนจาก
                                            สภาวะการขาดแคลนน้ำา  เนื่องจากมีการนำาน้ำาไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
                                            ประชาชนร่วมกับเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกจึงเรียกร้องสิทธิในการ

                                            เข้าถึงและใช้ทรัพยากรน้ำาผ่านคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ
                                            และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา

                        พ.ศ.๒๕๔๗ - ๒๕๔๙     กลุ่มกรีนพีซประเทศไทยมีกิจกรรมสร้างศักยภาพประชาชนในพื้นที่
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62