Page 24 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 24

รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
           (22) ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก




                                      ให้ความเห็นทั้งด้านกระบวนการและเนื้อหาการประเมินผลกระทบต่อ

                                      สุขภาพและสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือกิจกรรม ให้คำาปรึกษา สนับสนุน
                                      ข้อมูลทางวิชาการให้กับชุมชน ผู้ดำาเนินโครงการหรือกิจกรรม หรือผู้จัดทำา

                                      รายงานผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และติดตามตรวจสอบการ
                                      ดำาเนินการตามเงื่อนไข หรือมาตรการป้องกันผลกระทบตามรายงานที่ได้รับ

                                      ความเห็นชอบ  รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในเรื่องดังกล่าวสู่สาธารณะ
                                   ๒)  กฎหมายว่าด้วยมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม ตามหลักการผู้ก่อมลพิษ

                                      เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำาบัด (Polluter Pays Principle : PPP)
                                      โดยเร่งผลักดันร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ....

                                      และควรให้มีสาระที่สำาคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
                                      ในการเข้าถึงแหล่งเงินจากการจัดเก็บภาษี  และมีกลไกการบริหารจัดการ

                                      เงินกองทุนเพื่อการป้องกันและเยียวยาปัญหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
                                      อย่างมีธรรมาภิบาล

                                   ๓)  กฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย
                                      สาธารณะ โดยควรมีสาระสำาคัญเกี่ยวกับการกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ

                                      ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน  ตามบทบัญญัติ มาตรา ๖๖
                                      มาตรา ๖๗  มาตรา ๘๗ (๑) และ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                                      พุทธศักราช ๒๕๕๐  และให้หน่วยงานของรัฐส่งเสริมสนับสนุนการมี
                                      ส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการนโยบายสาธารณะให้สอดคล้อง

                                      ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว
                         นอกจากนี้  ควรดำาเนินการปรับปรุง/แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม

                  และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้สอดคล้องกับมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของ

                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช ๒๕๕๐

                             ๓.๔  ควรทบทวนการให้ความสำาคัญต่อความสำาเร็จในการพัฒนาประเทศโดยใช้ตัวชี้วัด

                  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ซึ่งเป็นการเน้นรายได้ทางเศรษฐกิจ
                  และต้องปรับทิศทางการพัฒนาประเทศให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  โดยการบูรณาการการ

                  อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติกับการพัฒนาเศรษฐกิจ  เพื่อมิให้เกิดผลกระทบด้าน
                  สุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน


                         ทั้งนี้  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า  หากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                  ยังละเลย เพิกเฉย ล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบในการเคารพ ปกป้อง และดำาเนิน

                  มาตรการที่จำาเป็นและเพียงพอที่จะทำาให้สิทธิในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน  โดยเฉพาะ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29