Page 23 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 23
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก (21)
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกอบการที่เป็นของรัฐหรือได้รับการสนับสนุนพิเศษจากรัฐไปละเมิดสิทธิ
มนุษยชนและสิทธิชุมชน และต้องมีกลไกที่มีประสิทธิผลในการกำากับดูแล ติดตาม ตรวจสอบให้เป็น
ไปตามนโยบาย แนวทาง และมาตรการที่กำาหนด ตลอดจนมีกลไกในการเยียวยาอย่างเหมาะสม
แก่บุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบการของธุรกิจและอุตสาหกรรม ทั้งในด้าน
สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ
๓. รัฐบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกรณีในการดำาเนินมาตรการที่จำาเป็นและเพียงพอที่จะทำาให้
สิทธิชุมชนเกิดผลและเป็นจริง (Obligation to Fulfill)
๓.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ตามมาตรา ๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ อย่าง
เคร่งครัด และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกระดับทุกมิติ นับตั้งแต่การกำาหนดนโยบายและ
วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ตลอดจนการตรวจสอบการใช้
อำานาจรัฐทุกระดับ รวมทั้งการสนับสนุนการรวมตัวกันของกลุ่มประชาชนในลักษณะเครือข่ายทุก
รูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งเปิดโอกาส
ให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยกำาหนดเป้าหมาย ลักษณะ/รูปแบบ ของ
การมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุกขั้นตอนในการจัดทำา EIA/HIA นอกจากนี้ ควรส่งเสริมสนับสนุน
ให้เกิดสมัชชาเชิงประเด็นหรือพื้นที่ของเครือข่ายมาบตาพุดและหรือเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน จัดให้มีเวทีสาธารณะร่วมกันในการแก้ปัญหา ติดตาม
กำากับแผนการลดมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด แผนการจัดทำาผังเมืองและอื่นๆ โดยต้องรายงานผลการ
ดำาเนินการต่อสาธารณะเป็นระยะๆ
๓.๒ เร่งนำาเครื่องมือการประเมินผลกระทบทางกฎหมาย (Regulatory Impact Assess-
ment : RIA) มาใช้ในประเทศไทย เพื่อตรวจสอบการออกกฎหมายของฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การตรวจสอบการออกประกาศกระทรวง หรือกฎระเบียบของฝ่ายบริหาร ในกรณีทำานองเดียวกับ
การออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓
๓.๓ เร่งรัดการดำาเนินการจัดทำาหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำาหนดรายละเอียด
เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชนให้เกิดผลที่เป็นจริง ตามเจตนารมณ์ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยเร่งรัดการจัดทำาและประกาศใช้
กฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชนที่สำาคัญ ๓ ฉบับ ได้แก่
๑) กฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามมาตรา ๖๗
วรรคสอง โดยให้องค์การอิสระดังกล่าวมีอำานาจหน้าที่ในการกำาหนดขนาด
และประเภทโครงการ หรือกิจกรรมที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชน