Page 22 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 22
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(20) ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
เจ้าของโครงการเป็นผู้จ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดทำารายงานที่มุ่ง
ตอบสนองความต้องการของเจ้าของโครงการ
(๒) ควรหามาตรการผลักดันและให้หน่วยงานอนุมัติ อนุญาต และหน่วย
กำากับ ปฏิบัติตามมาตรการของ EIA/HIA บูรณาการการดำาเนินงาน
ร่วมกันอย่างต่อเนื่องหลังจากมีการดำาเนินโครงการแล้ว และควร
ปรับปรุงกลไกและมาตรการที่ทำาหน้าที่ติดตาม กำากับการดำาเนินการ
ตามกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนรายงานต่อสาธารณะว่า
ในแต่ละปี มีโครงการใดบ้างที่ไม่ปฏิบัติตาม EIA/HIA
(๓) องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพควรจัดหานักวิชาการตาม
ที่ภาคประชาชนร้องขอเพื่อให้ความรู้ ให้คำาปรึกษาในกระบวนการ
ทำา EIA/HIA โดยมีการทบทวนปรับปรุงบัญชีรายชื่อนักวิชาการอย่าง
สม่ำาเสมอ
(๔) รัฐบาลต้องกำาหนดมาตรการชดเชยและเยียวยาที่ชัดเจนในกรณีมีการ
ทำาลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
อนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยปรับปรุงสาระ
สำาคัญตามเอกสารท้ายประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม เรื่อง กำาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและ
แนวทางในการจัดทำารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
ฉบับลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับการ
คำานวณค่าชดเชย เยียวยา และระยะเวลาจ่ายเงิน
๒.๓ การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Enviromental Assessment :
SEA)
รัฐบาลต้องสร้างเครื่องมือตัดสินใจในระดับภาพรวมในการใช้พื้นที่สำาหรับ
อุตสาหกรรมให้มีความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยประเมิน
ศักยภาพในการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity) ซึ่งต้องอาศัยการประเมินภาพรวม อันเป็นผล
มาจากการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Enviromental Assessment : SEA)
โดยจะต้องปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ สม่ำาเสมอ และทันเวลา
๒.๔ การป้องกัน กำากับดูแล ติดตาม ตรวจสอบให้การประกอบการของภาคธุรกิจและ
อุตสาหกรรมเคารพสิทธิมนุษชน รวมถึงสิทธิชุมชน
รัฐบาลต้องกำาหนดนโยบาย แนวทาง รวมถึงมาตรการที่ชัดเจนและสอดคล้อง
กับมาตรฐานระหว่างประเทศในการป้องกันมิให้การประกอบการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม