Page 19 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 19
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก (17)
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงเพียง ๑๑ รายการ ทำาให้มีโครงการหรือ
กิจการอีกจำานวนมากที่อาจเกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ไม่เข้าข่ายต้องดำาเนินการจัดทำา
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำาเนินการดังกล่าว โดยไม่ปรากฏคำาอธิบายที่ชัดเจนให้สาธารณชน
ได้รับทราบถึงเหตุผลที่ไม่ดำาเนินการให้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการสี่ฝ่าย การดำาเนินการ
ในเรื่องนี้จึงขาดความโปร่งใส ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาล
นอกจากนี้ นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระ
ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ประกอบกับการที่รัฐบาลยังมุ่งที่จะพัฒนา
อุตสาหกรรมเพื่อนำาไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำาให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน
มาบตาพุดในด้านต่างๆ ได้แก่ ชุมชนได้รับมลพิษเพิ่มขึ้นโดยขาดการควบคุมที่รอบคอบ ชุมชนมี
ความเสี่ยงต่ออันตรายจากอุบัติภัยของโรงงานเพิ่มขึ้น การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง
ของชุมชนได้รับผลกระทบ ชุมชนไม่ได้รับทราบข้อมูลของโรงงานที่ครบถ้วน เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจาก
กระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) และ
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) ยังมีช่องว่างและปัจจัย
หลายประการที่ยังไม่เป็นหลักประกันอย่างเพียงพอในการคุ้มครองสิทธิของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
ความพร้อมของเจ้าของโรงงานในการจัดจ้างนักวิชาการทำา EIA/HIA ประชาชนขาดความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับ EIA/HIA จึงขาดข้อมูลในการเรียกร้องสิทธิ อีกทั้งสาระของ EIA/HIA ยังขาด
รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหาย ในที่สุดการทำา EIA/HIA จึงกลายเป็นเงื่อนไข
ในการออกใบอนุญาตให้ดำาเนินโครงการหรือกิจการที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทำาให้เห็นว่า
รัฐบาลยังละเลยเพิกเฉยต่อการเคารพ ปกป้อง และดำาเนินมาตรการที่จำาเป็นและเพียงพอที่จะทำาให้
สิทธิชุมชน ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
ปรากฏผลที่เป็นจริง
จากปัญหาดังกล่าว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีข้อเสนอแนะในภาพรวม
ระดับประเทศ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิชุมชน ตามมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยมีสาระสำาคัญ ดังนี้
๑. รัฐบาลต้องปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกรณีในการเคารพ (Obligation to Respect) สิทธิชุมชน
๑.๑ ข้อพิจารณาเชิงเนื้อหา
๑) ทบทวน ปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ฉบับลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ ให้ครอบคลุมประเภทโครงการต่างๆ
ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชน