Page 20 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 20
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(18) ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
๒) ในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ตาม ๑) จะต้องคำานึงถึงพื้นที่ตั้งของโครงการหรือกิจกรรมและ
ศักยภาพในการรองรับของพื้นที่นั้น หากโครงการหรือกิจกรรมใดๆ ที่ไม่อยู่
ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับดังกล่าว
แต่ตั้งอยู่และดำาเนินการในพื้นที่ซึ่งไม่ควรอนุญาตให้ดำาเนินการ เช่น แหล่ง
มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ อุทยานประวัติศาสตร์
แหล่งโบราณสถานโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ตามกฎหมาย พื้นที่
ป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้าม
ล่าสัตว์ป่า สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม
ตามมติคณะรัฐมนตรี พื้นที่ชุ่มน้ำาที่มีความสำาคัญระหว่างประเทศ พื้นที่
ลุ่มน้ำาชั้น ๑ พื้นที่ประกาศเขตควบคุมมลพิษ พื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการ
รองรับ (Carrying Capacity) ที่มีขีดจำากัด พื้นที่ที่มีข้อกำาหนดการใช้
ประโยชน์ที่ดินให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์หรือที่สงวน และพื้นที่เพื่อการ
รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พื้นที่ซึ่งมีข้อกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็น
ที่ดินประเภทชุมชน ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ชนบทและเกษตรกรรมตาม
กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง เป็นต้น หากมีความจำาเป็นต้องดำาเนินการ
เพื่อการอันเป็นสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว รัฐบาลจะต้องเร่ง
แก้ไขประกาศกำาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำาหรับโครงการหรือ
กิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้าน
คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ให้ครอบคลุมพื้นที่
ดังกล่าว เพื่อให้การดำาเนินโครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่เหล่านี้เข้าสู่
กระบวนการ ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ด้วย
๓) รัฐบาลต้องเร่งดำาเนินการศึกษาศักยภาพในการรองรับ (Carrying Capacity)
ในทุกมิติของพื้นที่มาบตาพุด และรายงานต่อสาธารณะภายใน ๖ เดือน
และควรยุติการขยายอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งกำาเนิดมลพิษในพื้นที่
มาบตาพุดไประยะหนึ่ง จนกว่าจะศึกษาศักยภาพในการรองรับในทุกมิติ
และมีการยอมรับว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพในการรองรับในระดับสากล
๔) จะต้องระบุในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตามข้อ ๑) ว่า ให้มีการทบทวนประเภทโครงการกิจการทุก ๒ ปี
๑.๒ ข้อพิจารณาเชิงกระบวนการ
พิจารณาทบทวนปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกกระบวนการจัดทำาประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามข้อ ๑.๑ ๑) โดยให้องค์การอิสระสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ