Page 18 - รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
P. 18
รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(16) ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก
ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงพิจารณากรณีร้องเรียน รวมทั้งศึกษา
วิเคราะห์และจัดทำา “รายงานข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ต่อกรณีข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก” เพื่อนำาเสนอต่อรัฐบาลตามอำานาจ
หน้าที่ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๕) และ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๓) บัญญัติไว้
ตามข้อร้องเรียนของเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกสะท้อนปัญหาผลกระทบจากการ
พัฒนาอุตสาหกรรมต่อสิทธิของชุมชนและบุคคลในด้านต่างๆ ซึ่งมีการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สนธิสัญญา และ
ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักการและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง
ทั้งในรูปของสิทธิเชิงกระบวนการ (Procedural Rights) อันได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีบทบาท
เชื่อมโยงสนับสนุนให้สิทธิในเชิงเนื้อหา (Substantive Rights) เกิดขึ้นได้จริงในทางปฏิบัติ ได้แก่
สิทธิในสุขภาพที่ดี สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณภาพ สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิ
ในการพัฒนา ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิต่างๆ
ดังกล่าว ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และหลักสิทธิมนุษยชน ในขณะที่องค์กรของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องมีความผูกพันที่จะต้องเคารพ (Respect) ปกป้อง (Protect) และดำาเนินมาตรการที่จำาเป็น
และเพียงพอที่จะทำาให้สิทธิเหล่านี้เกิดผลที่เป็นจริง (Fulfill)
เมื่อพิจารณาการดำาเนินการของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุ้มครองสิทธิของ
ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกรณีการออกประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำาหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ สำาหรับโครงการ
หรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดทำารายงานการ
วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทำาให้เห็นว่า รัฐบาลได้เร่งดำาเนินการออกประกาศ
ตามแบบพิธี มิได้มุ่งให้มีเนื้อหาที่จะคุ้มครองสิทธิของชุมชนให้เกิดผลที่เป็นจริง ทั้งที่รัฐบาลได้มี
ความพยายามในการจัดตั้งกลไกเพื่อทำาหน้าที่แก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มาบตาพุด คือ คณะกรรมการ
แก้ไขปัญหาการปฏิบัติ ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือ
ที่เรียกว่า “คณะกรรมการสี่ฝ่าย” ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้มีการศึกษาข้อมูลทางวิชาการ และ
รับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียอย่างกว้างขวาง จนได้ข้อเสนอในการกำาหนดประเภท
โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จำานวน ๑๘ รายการ นำาเสนอต่อรัฐบาลแล้ว แต่รัฐบาลกลับเปลี่ยน
ไปใช้กลไกคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ และเร่งรีบออกประกาศกระทรวงฉบับดังกล่าว กำาหนดประเภทโครงการหรือ