Page 60 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 60
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 59
ทางกายภาพ ซึ่งหมายถึง การพัฒนาส่วนต่างๆ ของร่างกายในทิศทางที่เชื่อกันว่าเป็นการเพิ่มค่าให้แก่เจ้าของ
ร่างกายตามที่ยึดถือกันในแต่ละบริบทของร่างนั้นๆ ร่างกายจึงอาจแปลงไปเป็นทุนทางเศรษฐกิจ (economic
capital) ได้แก่ เงิน สินค้า และบริการ ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) เช่น การศึกษา และทุนทาง
สังคม (social capital) ได้แก่ เครือข่ายและระบบอุปถัมภ์ในสังคมที่สามารถเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า
บริการของสมาชิกในเครือข่ายความสัมพันธ์นั้นๆ (Shilling, 1993: 127-128)
หากมองจากมุมของบูร์ดิเยอข้างต้น ความเห็นของพิเชฐ แสงทอง (2546) ที่กล่าวว่าร่างกายของเกย์
เป็นไปเพื่อกามารมณ์ และไม่มีวันสร้างมูลค่าหรือความพึงพอใจให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมได้ อาจถูกนํามา
โต้แย้งได้ว่าร่างกายของเกย์ในกรณีของลอยควัน รวมทั้งกุญแจ ประจักษ์ และวันฉัตร ใน ด้ายสีม่วง เป็น
ร่างกายที่เป็นสินค้าและร่างกายเพื่อกามารมณ์จริง แต่สินค้ากามารมณ์เหล่านี้ช่วยชักนําให้เกย์เข้าถึง
ทรัพยากรต่างๆ ของสังคม และผันสู่ทุนอื่นๆ ตามที่บูร์ดิเยอกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเงิน สินค้า บริการ การศึกษา
และการอุปถัมภ์ในด้านต่างๆ ร่างของเกย์จึงช่วยสร้างภาวะกระทําการให้แก่เกย์ชนชั้นล่างเพื่อสร้างอํานาจ
ต่อรองและเปิดทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นในการดําเนินชีวิตของตน “มูลค่าและความพึงพอใจ” ที่สังคม
จะประจักษ์นั้น ตีความหมายได้ 2 แนวทาง แนวทางแรก คือมูลค่านี้ดํารงอยู่โดยที่สังคมไม่ได้ประจักษ์หรือ
มองเห็นเป็น “มูลค่า” ในความหมายที่สังคมกระแสหลักกําหนด แนวทางที่สอง จําเป็นแค่ไหนที่สังคมจะต้อง
ประจักษ์ในคุณค่าหรือความพึงพอใจ ในฐานะที่เกย์เป็นเพศวิถี และการยืนยันอัตลักษณ์เกย์เป็นกระบวนการ
ต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนึ่ง การสยบยอมหรือคล้อยตามมูลค่าและความพึงพอใจของสังคมดังกล่าวอาจเป็น
6
การบั่นทอนทําลายศักยภาพของเกย์ซึ่งล้วนเป็นการชี้วัดตัดสินจากสังคมรักต่างเพศ
ชนชั้นกับเพศวิถีของเกย์เป็นสิ่งที่ผู้เขียนโยงใยเข้าหากัน โดยที่อาจตีความได้ว่าเป็นความพยายาม
ของเกย์ในการผันตนเองให้กลายมีตําแหน่งอัตบุคคลหรือมีภาวะกระทําการ ลักษณะดังกล่าวอาจเป็นการต่อสู้
ทางการเมืองในระดับปัจเจกบุคคล การยืนยันอัตลักษณ์เกย์ในนวนิยายไตรภาคชุดนี้กระทําผ่าน “ชุมชนเกย์”
ในรูปแบบขององค์กรหรือการเคลื่อนไหวทางสังคมไม่มากนัก ใน ซากดอกไม้ มีตัวละครสองตัวที่ร่วมกันทํา
โครงการเพื่อสังคม และเกย์ที่ต้องการสร้างชุมชนที่อยู่อาศัยของเกย์โดยเฉพาะ และใน ด้ายสีม่วง ปฤงคพได้
เข้าร่วมการเดินขบวนในงานประกาศศักดิ์ศรีของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (งาน Pride) ส่วนใน
ห่วงจําแลง มีเพียงตอนท้ายที่องค์กรเกย์ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือลอยควันในเรื่องกฎหมาย องค์กรเกย์และการ
เคลื่อนไหวเหล่านี้มีอยู่จริงในสังคมที่เป็นบริบทของงานเขียนชุดนี้ โดยผู้เขียนบทความตั้งข้อสังเกตว่าการที่
วีรวัฒน์ให้ความสําคัญแก่สถาบันเหล่านี้ไม่มากนักเท่ากับเป็นการ “ชู” ศักยภาพของเกย์ในฐานะปัจเจกบุคคล
ให้ปรากฏชัด รวมทั้งชี้ให้เห็นลีลาชีวิตและปัญหาของเกย์ในลักษณะรายกรณี เพื่อลดอิทธิพลอาจก่อให้เกิด
6 ศึกษาประเด็นเกี่ยวกับร่างกายของเกย์ที่ทั้งซับซ้อนและย้อนแย้งเพิ่มเติมได้ใน นฤพล ด้วงวิเศษ (2549ก: 60-92).