Page 57 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 57
56 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
แม่ของเพื่อนอีกคนหนึ่งในครอบครัวคนจีนเก่าแก่ตระกูลหนึ่ง เมื่อลูกชายสารภาพว่า
‘เป็น’ ถึงกับร้องไห้โฮ สะอึกสะอื้น ปิ่มว่าจะขาดใจ...
“ทําไมต้องเป็นด้วยอาตี๋เอ๊ย? ทําไม? ฮือ...ฮือ...ทําไมอาตี๋ต้องฮิตตามคนอื่นด้วย...อาม้า
เสียใจ ลื้อไม่เป็นไม่ได้เหรอ...ฮือ...ฮือ...”
คเชนทร์อดนึกสงสัยไม่ได้ว่า...ถ้าเขาลงมือสารภาพกับแม่บ้างล่ะ...จะเป็นอย่างไร? แม่
ของเขาจะตกอยู่ในสภาพเช่นใด?
เพียงแค่คิดถึงผลที่จะตามมา เขาก็อดเสียวสันหลังไม่ได้...ไม่มีวันหรอก ไม่มีวันที่เขาจะ
สารภาพกับแม่เหมือนที่เพื่อนๆ ทํากันเด็ดขาด... (ด้ายสีม่วง, 2551: 299)
ในฐานะที่เรื่อง ด้ายสีม่วง เป็นตัวแทนของการนําเสนอลีลาชีวิตของเกย์ชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นชนกลุ่ม
ใหญ่ของสังคมเมือง ผู้เขียนได้สร้างทางเลือกในการดําเนินชีวิตที่หลากหลาย เช่นเดียวกับที่ปรากฏใน ซาก
ดอกไม้ และ ห่วงจําแลง สิ่งที่น่าสังเกตในตัวละครของนวนิยายกลุ่มนี้ก็คือ แม้จะได้รับผลกระทบจาก
มาตรฐานของสังคมรักต่างเพศแต่ตัวละครก็ดิ้นรนต่อรองกับมาตรฐานดังกล่าวด้วยการแสวงหาความสุขทาง
เพศที่อยู่นอกสถาบันการสมรส สําหรับผู้เขียนบทความแล้วอิสรภาพในทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้
ตัวละครเหล่านี้เลือกเส้นทางของชีวิตตัวเองได้ และตัวละครทุกตัวในนวนิยายชุดนี้จะมีอัตลักษณ์ทางอาชีพที่
ชัดเจน แม้ผู้เขียนจะระบุว่านวนิยายแต่ละเรื่องมุ่งนําเสนอเกย์ในชนชั้นที่ต่างกัน แต่หากพิจารณาแล้วจะ
พบว่าตัวละคร “เกาะกลุ่ม” อยู่ในชนชั้นกลาง แม้แต่ชาติชาครีต์ที่เป็น “เจ้าของทุน” ก็ยังเลือกแสวงหา
ความสุขตามแนวทางของชนชั้นกลาง อัตลักษณ์ทางอาชีพมีความสัมพันธ์กับเพศวิถีดังที่ปฤงคพกล่าวว่า
ผมเข้าใจตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร อยากทําอะไร ต้องการอะไร อย่างน้อยผมก็เข้าใจใน
สถานภาพของตัวผมเอง ผมเป็นเภสัชกร ผมเป็นเกย์ ผมต้องการเกย์ด้วยกัน ผู้หญิง สําหรับผมคือ
เพศแม่ พวกเธอคือเพื่อนที่ดีของผม ผมไม่เคยเห็นพวกเธอคือ ‘เครื่องมือ’ สําหรับใช้เป็นเกราะ
ป้องกันตัวผมเองจากคําครหาของสังคม
ถ้าเกย์ไม่อยู่กับเกย์ แล้วเกย์จะอยู่กับใครเล่าครับ คุณผู้ชม... (ด้ายสีม่วง, 2550: 450)
จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่าปฤงคพต่อรองกับมาตรฐานสังคมรักต่างเพศด้วยการเลือกทางชีวิต
ของตนเอง แม้เขาไม่ได้เปิดเผยตัวตนในความหมายของการสารภาพเพศวิถีของตนให้ครอบครัวและคนใกล้ชิด
ได้รับรู้ แต่ปฤงคพได้แสดงให้เห็นการปฏิเสธการสร้างครอบครัวตามมาตรฐานของสังคมรักต่างเพศ การที่เขา
กล่าวว่า “ถ้าเกย์ไม่อยู่กับเกย์ แล้วเกย์จะอยู่กับใคร” จึงมิใช่การยืนยันความเป็นชายขอบของชนกลุ่มน้อยทาง
เพศอย่างที่ เปรม สวนสมุทร (2548: 17) เข้าใจ แต่หมายถึงภาวะกระทําการของเกย์ที่เลือกใช้ชีวิตนอก
มาตรฐานของสังคม นอกจากนั้น ผู้เขียนยังวิพากษ์เกย์บางคนที่หลบเข้าไปอยู่ใต้ร่มเงาของมาตรฐานสังคมรัก
ต่างเพศด้วยว่าเป็นการใช้ผู้อื่นเป็นเครื่องมือ คําวิพากษ์ของปฤงคพสอดคล้องกับคํากล่าวของเขตพิภพที่เขาก็
ไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานเพื่อ “บังหน้า” ของเกย์ โดยเขาได้ย้ําว่า