Page 59 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 59

58       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                ลอยควันด้วยเช่นกัน ผู้เขียนให้รายละเอียดเกี่ยวกับรายได้ของเขตพิภพที่มีส่วนในเกื้อหนุนเขาให้อยู่ในชนชั้น
                กลางได้


                       ผมซื้อทองคําเก็บไว้ ทั้งในรูปทองคําแท่ง และทองรูปพรรณ ฝากไว้ในตู้นิรภัยของธนาคารต่างๆ
                       เพื่อหลีกหนีวิบากกรรมในเรื่องของอัคคีภัย ยามขัดสนผมก็จะทยอยนําทองคําต่างๆ เหล่านี้
                       ออกมาปล่อยขาย ตอนไม่มีเรี่ยวแรงทํางานอีกต่อไป ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่า ถ้าผมเอาทองคําใน
                       กําปั่นมาปล่อย ผมก็จะสามารถดํารงชีพไปได้จนหมดลมหายใจโดยไม่ลําบากอะไรเลย (ห่วง

                       จําแลง, 2551: 4)

                       เมื่อเพศวิถีสัมพันธ์กับชนชั้นแล้ว ความรักของลอยควันจึงมีทัศนคติที่เฉพาะเจาะจง ดังที่เขาระบุว่า
                “ความรักของผมก็เหมือนกับบัตรเติมเงิน มีวันเริ่มใช้งานและวันหมดอายุ ถ้าใช้ไม่ทันกําหนดก็ไร้ค่า ความรัก

                จะมี (มูล) ค่า ถ้ารู้จักเติมเงินในบัตรบ่อยๆ เติมน้อยเติมมากไม่สําคัญ ความสําคัญอยู่ที่ว่าต้องเติมอย่าง
                สม่ําเสมอ ถ้าทําได้เช่นนี้ คุณค่าแห่งความรักก็จะบังเกิดเอง” (ห่วงจําแลง, 2551: 130) การชี้ชัดว่าชนชั้นมี

                ส่วนในการกําหนดเพศวิถีของตัวละครอย่างไม่ปิดบังอําพรางแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนไม่ได้เลือกที่จะสร้างภาพ
                แทนของเกย์ให้มีลักษณะเป็นอุดมคติ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความไม่ได้กําลังพินิจนวนิยายกลุ่มนี้ในฐานะวรรณกรรม

                สัจนิยม แต่ต้องการเสนอว่าผู้เขียนสร้างตัวละครเกย์โดยคํานึงถึงความหลากหลายของเพศวิถีที่ไป “บรรจบ”
                กับเงื่อนไขอื่นในการดําเนินชีวิตของเกย์ เช่นใน ด้ายสีม่วง ที่ประจักษ์ตระหนักถึงความสําคัญของร่างชีวะของ

                ตนโดยมองตัวเองว่าเป็น “สินค้า” ชิ้นหนึ่งโดยไม่รู้สึกคับข้องใจ “วันไหนถ้ามีนวด...ผมก็อาศัยระบายอารมณ์
                ‘ใคร่’ กับลูกค้าแทน ทั้งเนื้อทั้งตัวผม ทุกอย่างดูจะเป็นเงินเป็นทองทั้งสิ้น นับตั้งแต่กล้ามแขน กล้ามขา กล้ามอก

                กล้ามท้อง ลีลาการจุมพิต การขยับนิ้วมือ คําพูดอันมีเสน่ห์ หวานหยด พูดตรึงดวงใจ แม้กระทั่งน้ํา” (ด้ายสีม่วง,
                2551: 227) รวมทั้งลอยควันใน ห่วงจําแลง ที่ต้องคอยรักษาร่างชีวะของตนให้เป็นที่ต้องการของ “ตลาด”

                               สรุปแล้ว...ลอยควันก็เดินรอบบ้าน ถือเป็นการ ‘วอร์ม’ ร่างกายให้อบอุ่นก่อนออกกําลัง

                       กายจริง
                               ‘ซิท อัพ’ คืนละสองร้อยครั้ง นี่เป็น ‘เคล็ดลับ’ สร้างกล้ามท้องแกร่งของเด็กหนุ่ม...ยิ่ง
                       แกร่งก็ยิ่งดี เพราะกล้ามท้องแบบ ‘ซิกซ์แพ็ค’ ช่วยกระตุ้นราคาตลาดเหมือนพ่อค้าหุ้นต้องลงมือ

                       ปั่นหุ้นด้วยตัวเอง ฉันใดฉันนั้น...
                               แต่นี่เขาปั่น ‘ชีวิต’ (ห่วงจําแลง, 2551: 43)

                       การกระทําของประจักษ์และลอยควันอาจอธิบายได้ด้วยแนวคิดของปิแยร์ บูร์ดิเยอ (Pierre Bourdieu)

                ที่ศึกษาและอธิบาย “ร่างกาย” ในฐานะที่เป็นแหล่งบรรจุคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ และมองว่าร่างกายคือรูปแบบ
                ของทุนทางกายภาพ (body as a form of physical capital) บูร์ดิเยอเน้นว่าร่างกายสัมพันธ์กับความไม่เท่า

                เทียมกันในสังคมสมัยใหม่ ร่างกายกลายเป็นสินค้าได้โดยไม่ใช่เพียงถูกซื้อถูกขายในรูปแบบของแรงงานเท่านั้น
                แต่ร่างกายเป็น “ทุนทางกายภาพ” ที่สามารถผันเป็นทุนอื่นได้ แนวคิดของบูร์ดิเยอเป็นเรื่องของการสร้างทุน
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64