Page 55 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 55
54 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ความคิดนี้เปรมได้เสนอสังเขปทฤษฎีอัญเพศ แต่เขาไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าการได้มาซึ่งอัตลักษณ์และภาวะกระทํา
การ (agency) ของเกย์นี้มีกระบวนการอย่างไร และท่าทีของเปรมยังแสดงลักษณะของความเห็นอกเห็นใจ
เกย์จากสายตาของคนนอก ดังที่เขาได้สรุปว่า “ถ้าเกย์ไม่อยู่กับเกย์แล้วเกย์จะอยู่กับใคร (ก็อยู่กับพวกเรานี่
ไง)” (เปรม สวนสมุทร, 2548: 17) บทสรุปดังกล่าวยังคงผลักเกย์ให้กลายเป็นอื่น ทําให้ภาวะกระทําการและ
“สปิริต” แบบอัญเพศในนวนิยายของวีรวัฒน์ถูก “เกลี่ย” จนหมดความสําคัญไป
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เสนอบทความไม่เห็นด้วยกับพิเชฐที่กล่าวไว้ในบทความตอนหนึ่งว่า “การที่นักเขียน
สร้างแบบของร่างกายเกย์ให้เป็นเพียงร่างกายที่ตอบสนองความรักและกามารมณ์เท่านั้นก็ทําให้โลกของเกย์
เป็นโลกที่ยังน่ารังเกียจอยู่ต่อไป ‘ตัวตน’ เกย์ซึ่งเปิดเผย/แสดงออกผ่าน ‘ร่างกาย’ จึงเป็นตัวตนที่ไม่มีวันสร้าง
‘มูลค่า’ หรือ ‘ความพึงพอใจ’ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมได้” (พิเชฐ แสงทอง, 2546: 71) การที่พิเชฐเห็นว่า
กามารมณ์ที่ถูกนําเสนอในนวนิยายเกย์เป็นสิ่งที่ทําให้สังคมยังคงรู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์เกย์แสดงให้เห็นว่าเขา
ไม่เข้าใจการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่มอัญเพศ ที่เพศวิถีสัมพันธ์กับการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (identity
5
politics) ที่สําคัญพิเชฐไม่ได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตําแหน่งอัตบุคคลของเกย์ในนวนิยายกลุ่มนี้ที่
หลอมสร้างขึ้นมาจากเพศวิถี ชนชั้น การบริโภค วิถีเมือง และวาทกรรมพุทธศาสนา ซึ่งโยงใยกันอย่างซับซ้อน
ทําให้เขาเลือกที่ไปสู่ข้อสรุปที่กล่าวถึงข้างต้น
ในบทความนี้ผู้เขียนบทความจึงขอเสนอแนวการศึกษานวนิยายไตรภาคของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์
ใหม่ โดยผนวกเอานวนิยายเรื่อง ห่วงจําแลง ที่ยังสํารวจไม่พบว่ามีผู้ใดศึกษาเข้าไว้ด้วย โดยใช้แนวการวิจารณ์
ของอัญเพศที่มุ่งพิเคราะห์ลักษณะของ “ตัวบทแบบอัญเพศ” (queer text) ผ่านคุณสมบัติ 4 ประการดังนี้
(1) ตัวบทแบบอัญเพศกระทําและ/หรือเปิดโอกาสให้ผู้วิจารณ์ทําความสัมพันธ์สองทางระหว่างเพศ
วิถีกับอัตลักษณ์ให้กลายเป็น “การเมือง” (to politicize)
(2) ตัวบทแบบอัญเพศต่อต้านหรือปฏิเสธกลายแบ่งขั้วรักต่างเพศ-รักเพศเดียวกันให้กลายเป็นเรื่อง
ธรรมดาธรรมชาติ (to be naturalized)
(3) ตัวบทแบบอัญเพศมักจะแสดงให้เห็นการผูกอยู่กับบริบทเฉพาะ (ชนชั้น, ชาติพันธุ์, อัตลักษณ์
ทางวัฒนธรรม) ที่ซับซ้อนของประเด็นเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ
(4) งานวิจารณ์แบบอัญเพศ (queer critical text) ต่อต้านขัดขืนต่อการสรุปเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ
แบบเบ็ดเสร็จ และงานวิจารณ์นั้นยังเอื้อต่อการขับเคลื่อนทวิวัจน์ของอัญเพศ (queer dialogue) ที่ว่าด้วย
เรื่องเพศวิถีและอารมณ์ปรารถนา (Hall, 2003: 164-168)
5 การเมืองเรื่องอัตลักษณ์ (identity politics/politics of identity) ในที่นี้หมายถึงอุดมการณ์ของความแตกต่างที่
ก่อรูปความเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นการต่อสู้ดิ้นรนทางการเมืองเพื่อประกอบสร้าง ยืนยัน หรือปฏิเสธอัตลักษณ์ทั้งใน
ระดับกลุ่มและระดับปัจเจกบุคคล.