Page 61 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 61
60 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ภาพตายตัว (stereotype) หรือการวิพากษ์ปัญหาของเกย์ที่จะกลายเป็น “สูตร” อันอาจทําให้งานด้อยคุณค่า
ทางวรรณศิลป์ลงไป
การคุโชนของเพลิงปรารถนา: “การเมืองเรื่องความสําส่อน” ของชนกลุ่มน้อยทางเพศ
จากที่ผู้เขียนบทความได้กล่าวไปแล้วว่านวนิยายชุดนี้มีการยืนยันอัตลักษณ์เกย์ อันเป็นรูปการณ์หนึ่ง
ของการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ ในงานศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการยืนยันอัตลักษณ์เกย์กระทําผ่านการแสวงหา
ความชมชอบทางเพศ การเปิดเผยตัวตน การร่วมเพศ การเข้าสู่วัฒนธรรมกระแสรอง หรือแม้แต่การเข้า
ร่วมกับองค์กรทางสังคมของเกย์ ผู้เขียนบทความขอเสนอในที่นี้ว่า “สปิริต” แบบอัญเพศที่ได้อ้างถึงข้างต้นว่า
ปรากฏในนวนิยายชุดนี้กระทําผ่านสิ่งที่ผู้เขียนบทความขอเรียกว่า “การเมืองเรื่องความสําส่อน” (politics of
promiscuity)
ความสําส่อนของเกย์กลายมา
เป็นการเมืองหรือวิธีการต่อสู้ทางการเมือง
ได้อย่างไร อาจพิจารณาได้จากข้อเสนอ
ของ Gove (2000: 19) บรรณาธิการของ
หนังสือ Cruising Culture: Promiscuity,
Desire and American Gay Culture
เขาเสนอว่า คําว่า “ความสําส่อน”
(promiscuity) อาจถูกมองว่ามีศักยภาพ
โดยนัยที่ทั้งยืดหยุ่นและคลุมเครือทํานอง
เดียวกันกับคําว่า “queer” ในทศวรรษ
การเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านขบวนแห่ “Bangkok Pride” พ.ศ. 2549 1990 ในปัจจุบันแม้คํานี้เป็นที่ยอมรับ
แล้ว คํานี้ก็ยังคงไว้ซึ่งการใช้ในเชิงเหยียดหยาม และยังทําให้กลุ่มคนที่ต่อต้านเผชิญหน้ากับการใช้ใน
ความหมายที่คอยตรวจตราสิ่งที่อาจทําให้สังคม “ไม่ปกติสุข” (policing usage) ได้ แทนที่จะ “เซ็นเซอร์”
หรือหลีกเลี่ยงไปใช้คําอื่น คําว่าความสําส่อนนี้ก็เช่นเดียวกับการโต้กลับวาทกรรมตามแนวทางของอัญเพศ ที่
บางครั้งอาจใช้เพื่อปกป้องหรือเฉลิมฉลองความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอารมณ์ปรารถนาอันซับซ้อน
และน่าตื่นเต้นดังปรากฏอยู่ในประวัติของคํานี้ การใช้คําว่าความสําส่อนก็เหมือนกับคําว่าอัญเพศที่เกี่ยวกันกับ
วัฒนธรรมทั้งหลายในเพศวิถีที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของสังคมในระดับของความคิดฝัน คํานี้ยังอาจใช้เพื่อ
แถลงความสําส่อนทางกายทั้งมวลด้วย สองคํานี้ยังมีลักษณะพ้องกันในฐานะการเขียนด้วยสัญลักษณ์
(shorthand) สําหรับเลสเบียน เกย์ และคนรักสองเพศ (หรือคนที่ไม่ใช่รักต่างเพศทั้งหมด) คํานี้อาจถูกใช้เพื่อ