Page 53 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 53

52       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                       (2) นวนิยายไตรภาคชุดนี้ได้ประมวลประเด็นที่หลากหลายในวิถีชีวิตของเกย์เอาไว้อย่างครบถ้วน
                เป็นต้นว่า ปัญหาเรื่องการเปิดเผยตัวตน แรงกดดันจากสังคมรักต่างเพศ ที่สอดรับกับวรรณกรรมเกย์โดย

                นักเขียนคนอื่นๆ นอกจากนั้นผู้เขียนยังชี้ให้เห็นการบรรจบกันระหว่างเพศวิถีกับชนชั้น วิถีบริโภค และวิถี
                เมืองของเกย์ ปัญหาเรื่องความรัก ความเป็นมนุษย์ และการให้ความสําคัญแก่วาทกรรมพุทธศาสนา ซึ่งทํา
                ให้นวนิยายชุดนี้ผูกอยู่กับบริบทสังคมไทยอย่างแน่นแฟ้น จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของการปะทะกันใน

                หมู่วาทกรรมหลายชุดที่เกี่ยวของสัมพันธ์กับเกย์ไทย

                       มีงานวิจัยจํานวนหนึ่งที่ศึกษานวนิยายไตรภาคชุดนี้ของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ มีทั้งที่ศึกษาเฉพาะ

                เล่ม และศึกษาร่วมกับวรรณกรรมเกย์เรื่องอื่นๆ ที่ร่วมสมัยกัน สมเกียรติ คู่ทวีกุล (2545) ศึกษาเรื่อง “ภาพ
                สะท้อนชายรักร่วมเพศในนวนิยายไทยสามรอบทศวรรษ (พ.ศ.2513-2543): การศึกษาศักยภาพ ข้อจํากัด

                และทางออกของนักเขียนหญิง” งานวิจัยเรื่องนี้เปรียบเทียบนวนิยายของนักเขียนหญิงที่มีตัวละครชายรักชาย
                จํานวน 24 เรื่อง กับนวนิยายของนักเขียนชายที่มีตัวละครประเภทเดียวกันจํานวน 8 เรื่อง โดยมีนวนิยาย

                เรื่อง ซากดอกไม้ รวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ผลการวิจัยพบว่าภาพสะท้อนชายรักชายของนักเขียนหญิงมีคุณค่าใน
                การเลียนแบบชีวิตน้อยกว่างานเขียนนักเขียนชาย ทําให้ผู้อ่านไม่รู้จักชีวิตของคนกลุ่มนี้อย่างถ่องแท้ งานวิจัย

                ของสมเกียรติมองชายรักชายในวรรณกรรมผ่านมุมมองแบบสัจนิยม งานวิจัยดังกล่าวก่อให้เกิดปริญญานิพนธ์
                ของ อรรถวุฒิ มุขมา (2546) เรื่อง “นวนิยายชายรักร่วมเพศเรื่อง ‘ซากดอกไม้’ ของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์:
                การศึกษาเชิงวิเคราะห์”  ผู้วิจัยสืบทอดการจัดกลุ่มนวนิยายเรื่องนี้ให้เป็นวรรณกรรมสัจนิยมจากงานของ

                สมเกียรติ ผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบวรรณกรรมอย่างละเอียด ทําให้มองเห็นลักษณะเฉพาะของนวนิยาย
                เรื่องนี้ โดยผู้วิจัยพยายามแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมที่ชัดเจน


                       พิเชฐ แสงทอง (2546)  เขียนบทความเรื่อง “ร่างกาย ร่างเกย์” ผู้เขียนวิเคราะห์แนวโน้มของ
                วรรณกรรมเกย์จํานวนหนึ่ง โดยกล่าวถึงเรื่อง ซากดอกไม้ และ ด้ายสีม่วง ในฐานะตัวแทนของวรรณกรรมเกย์

                ยุคหลังทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา พิเชฐเสนอว่าวรรณกรรมเกย์ยุคหลัง 2540 เป็นยุคที่เกย์เปิดเผยตัวตน ทํา
                ให้ครอบครัวของเกย์แตกสลายมีการหย่าร้าง ตัวละครเกย์ในวรรณกรรมยุคนี้หันมา “สร้างร่าง” ผ่าน

                วัฒนธรรมการออกกําลังเพื่อร่างที่สมบูรณ์แบบ พิเชฐเห็นว่าการที่วรรณกรรมเกย์ไม่นิยมสร้างตัวละครที่
                อัปลักษณ์ตอกย้ําว่าร่างกายแบบเกย์เป็นสิ่งที่วาทกรรมเกย์ผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองการบริโภคการร่วมรัก

                เท่านั้น ไม่ใช่ร่างกายที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพิ่มศักยภาพในการผลิตทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังที่
                ร่างกายในวัฒนธรรมบริโภคนิยมทํากันทั่วไป พิเชฐกล่าวว่าลักษณะดังกล่าวทําให้วงจรชีวิตของเกย์สัมพันธ์อยู่
                กับกลุ่มเกย์ด้วยกันมากกว่าที่จะสัมพันธ์กับสังคมภายนอก ศักยภาพของเกย์ที่วรรณกรรมเหล่านี้แสดงออกคือ

                ศักยภาพทางเพศ มากกว่าศักยภาพเชิงสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58