Page 52 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 52

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   51



                     ได้มีประกาศให้กลั่นกรองภาพลักษณ์ของชนกลุ่มน้อยทางเพศที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ นอกจากนั้นได้มี
                     เหตุการณ์หลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย

                     ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของกลุ่มทางสังคม และองค์กรเอกชนที่ทําหน้าที่เคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของคนกลุ่มนี้
                     หรือการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ อันเป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง
                     เช่น การระบุให้กะเทยไม่ต้องเกณฑ์ทหาร หรือการผลักดันให้ปรับเปลี่ยนข้อความในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.

                     2550 หลังมีการรัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 โดยให้เปลี่ยนจากข้อความที่ระบุว่า “ชายและหญิง
                     มีสิทธิเท่าเทียมกัน” เป็น “ชาย หญิง และบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิเท่าเทียมกัน” (วราภรณ์

                     แช่มสนิท, 2551: 86-94)

                            การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เข้มข้นของชนกลุ่มน้อยทางเพศในช่วงเวลาที่เป็นบริบทของนวนิยาย

                     ชุดนี้เกิดขึ้นขนานไปกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 ที่ถ่าง
                     ขยายช่องว่างทางชนชั้นของคนในสังคมและได้เปลี่ยนโฉมหน้าวิถีบริโภคของคนในสังคมเมืองไปมาก

                     พอสมควร เพราะการบริโภคถูกปลุกเร้าอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อต่างๆ นัยว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ
                     กลุ่มเกย์ก็เป็นกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มธุรกิจต่างๆ เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีกําลังซื้อมาก และเพศวิถีของคน

                     กลุ่มนี้ก็สัมพันธ์กับการบริโภคอย่างชัดแจ้ง ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และวัฒนธรรมในเวลา
                     กว่าทศวรรษที่ “พาดทับ” งานเขียนของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ ย่อมทําให้งานเขียนของเขาแตกต่างกับ
                     นักประพันธ์เรื่องเกย์คนอื่น เนื่องจากงานประพันธ์ส่วนใหญ่ในช่วงเวลานี้ไม่มีนักเขียนที่เขียนงานอย่าง

                     ต่อเนื่องมากนัก และส่วนใหญ่ยังคงวนอยู่กับปัญหาเรื่องการเปิดเผยตัวตน (coming out) การให้เหตุผล
                     รองรับพัฒนาการอัตลักษณ์เกย์ และแรงกดดันที่ต้องรับจากสังคมรักต่างเพศ แม้แต่ในหมู่นักเขียนรุ่นใหม่

                     อย่าง ตรีนุชา ที่เขียนเรื่อง ดาวเที่ยงวัน ตะวันเที่ยงคืน (2547) หรือ สุริศร วัฒนอุดมศิลป์ ผู้เขียนเรื่อง สุด
                     ปลายสะพาน (2550)


                            สําหรับผู้เขียนบทความแล้ว สิ่งที่ทําให้นวนิยายไตรภาคชุดซากดอกไม้ของวีรวัฒน์ต่างกับงานของนัก
                     ประพันธ์เรื่องเกย์คนอื่นมีอยู่ 2 ประการอย่างมีนัยสําคัญ ได้แก่

                            (1)  ซากดอกไม้ อันเป็นนวนิยายเรื่องแรกของชุดเป็นวรรณกรรมที่เปิดเผยวิถีชีวิตและวัฒนธรรม
                     กระแสรอง (subculture)  อย่างชัดแจ้งเป็นเรื่องแรกในวงวรรณกรรม อันเป็นการช่วงชิงอํานาจในการสร้าง

                     ภาพแทน/ความหมายของเกย์ มาจากกลุ่มนักเขียนหญิงที่นําเสนอเกย์อย่าง “ซ้ําซาก ขาดความหลากหลาย มี
                     ลักษณะผิวเผิน เลือนราง พร่ามัว ปราศจากสีสันบรรยากาศของลีลาชีวิตลีลานี้ และคลาดเคลื่อนกับความเป็น
                     จริง” (สมเกียรติ คู่ทวีกุล, 2545: 103) ด้วยลักษณะเฉพาะดังกล่าวทําให้ ซากดอกไม้ ได้รับการตอบรับอย่างดี

                     จากชุมชนนักอ่าน สังเกตได้จากจํานวนพิมพ์ ครั้งที่ตีพิมพ์ซ้ํา และ “ปฏิกิริยา” หลากหลายที่ปรากฏในสื่อ
                     แขนงต่างๆ (ดู อรรถวุฒิ มุขมา, 2546: 312-318)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57