Page 7 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 7
หนังสือเล่มนี้คงสําเร็จงดงามไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและบุคคลจํานวน
มาก ขอขอบคุณหัวหน้าภาควิชาวรรณคดีผู้คิดริเริ่มให้เกิดการประชุมวิชาการครั้งนี้ขึ้น ขอขอบคุณ
คณาจารย์ในภาควิชาวรรณคดีที่ได้มีส่วนร่วมเสนอบทความ ตรวจแก้ และปฏิบัติงานร่วมกันในกอง
บรรณาธิการ ขอขอบคุณคุณโชติรส เกตุแก้วที่ดูแลงานด้านศิลปกรรมด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดี
ขอบคุณคณะกรรมการฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ ที่อุดหนุนงบประมาณ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในฐานะ
หน่วยงานร่วมจัดที่เอื้อเฟื้อสถานที่ให้การประชุมวิชาการครั้งนี้เป็นจริงขึ้นมาได้
ภาพแทนของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่คนทั่วไปรับรู้คือการใช้ความรุนแรงทําร้าย การเหยียด
หยาม ผู้ถูกละเมิดสิทธิโดยไม่มีทางโต้กลับหรือ “เปล่งเสียง” ออกมาจึงเปรียบได้กับใช้ชีวิตอยู่ในโลกของ
บาดแผลและน้ําตา วรรณกรรมจึงเป็นเสมือนคําจารึกประสบการณ์ความทุกข์เหล่านั้น หากมองว่าเรื่อง
เล่าจากประสบการณ์ความทุกข์หรือเรื่องเล่าที่เกื้อหนุนความรุนแรงเหล่านั้นคือโวหารแห่งความอัปยศที่
ฟ้องความเลวร้ายที่มนุษย์ได้กระทําต่อกัน การหวนกลับไปทบทวนเรื่องเล่าเหล่านั้นอาจช่วยผันความ
อัปยศให้กลายเป็นศักดิ์ศรี ในทางกลับกันก็น่าจะได้ตั้งคําถามกลับไปยังผู้ที่เชื่อว่ามีศักดิ์ศรีเหนือผู้อื่นใน
เส้นแบ่งด้านรุ่นวัย ชนชั้น ชาติพันธุ์ เพศสถานะ ฯลฯ ให้ตระหนักถึงความ “เสมอกัน” ของมวล
มนุษยชาติ และให้เรียนรู้จนเข้าใจในที่สุดว่ามายาคติที่พวกเขาติดยึดอยู่นั้นน่าอัปยศเพียงใด
นัทธนัย ประสานนาม
บรรณาธิการ