Page 5 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 5
ในบริบทที่โลกเฉลิมฉลองความหลากหลาย กระแสการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม
เควียร์หรือกลุ่มอัญเพศเป็นสิ่งที่ปรากฏในหลายพื้นที่ บทความเรื่อง “นาครเขษม ภาวะสูงวัยใน
มุมมองเควียร์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา ประกาศวุฒิสาร มุ่งศึกษาการสร้างพื้นที่ของผู้สูงวัย
ในฐานะเควียร์ในพื้นที่สังคมเมืองและกระแสทุนนิยมสมัยใหม่ ความสูงวัยที่กลายเป็นประสบการณ์
ความทุกข์และความอัปยศถูกคอยนุชในฐานะผู้ประพันธ์วิพากษ์อย่างมีอารมณ์ขันและนัยทางการเมือง
บทความอีกเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับเควียร์คือบทความเรื่อง “ผิดด้วยหรือที่จะปรารถนา: ชนกลุ่มน้อยทาง
เพศในนวนิยายไตรภาคของวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์” ของ อาจารย์นัทธนัย ประสานนาม ผู้เขียน
บทความเสนอให้เห็นการสร้างอัตลักษณ์เกย์ในบริบทสังคมไทยผ่านการนําเสนอเพศวิถีที่สัมพันธ์กับ
ชนชั้น “การเมืองเรื่องความสําส่อน”ได้ถูกนํามาใช้เพื่อวิพากษ์มาตรฐานของสังคมรักต่างเพศ
นอกจากนั้น ผู้เขียนบทความได้ชี้ให้เห็นความสําคัญของวาทกรรมพระพุทธศาสนาที่ผลักดันให้เกย์และ
คนผู้มีเพศวิถีอื่นๆ หลุดพ้นจากบ่วงความปรารถนาที่สร้างทุกข์ไม่รู้สิ้นสุด การสร้างอัตลักษณ์ “เควียร์”
อันเป็นกลุ่มชนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในภาคสังคมและเชิงสัญลักษณ์ในวรรณกรรมทั้งสองเรื่องจึง
เป็น “เสียง” ที่สังคมสมควรสดับตรับฟังอย่างตั้งใจ
นอกจากกลุ่มเควียร์แล้วผู้หญิงก็เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกทําให้ “เป็นอื่น” รองศาสตราจารย์
ดร.สรณัฐ ไตลังคะได้เสนอไว้ในบทความเรื่อง “ทากและปลิงอันอาจสูบเลือดให้ม้วยมรณ์: ผู้หญิงใน
เรื่องสั้นไทยแนวผจญไพร” ผู้เขียนบทความชี้ให้เห็นการสร้างความเป็นอื่นให้แก่ผู้หญิงด้วยการ
กําหนดให้เป็นชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ บ้างมีลักษณะกึ่งคนกึ่งสัตว์ เรื่องสั้นกลุ่มนี้จัดวางให้ผู้หญิงเป็น
วัตถุของความปรารถนา และเสน่ห์อันน่าพิศวงของพวกเธอก็ล้วนนํามาซึ่งความหายนะ ชะตากรรมของ
ผู้หญิงในวรรณกรรมกลุ่มนี้จึงถูกควบคุม ครอบครอง และสังหารด้วยอํานาจของผู้ชาย
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นสิ่งที่อาจารย์พรรณราย ชาญหิรัญสนใจเช่นกัน เธอได้เสนอ
บทความเรื่อง “ไกรทอง: ความรุนแรงระหว่างเผ่าพันธุ์และเพศ” โดยได้เสนอว่า ความรุนแรงทั้งหมด
ตั้งอยู่บนพื้นฐานความแตกต่างด้านเผ่าพันธุ์และเพศของตัวละคร การดํารงอยู่ของเรื่องไกรทอง
หลากหลายฉบับจากอดีตจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึกในสังคมไทย
และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมซึ่งรองรับการใช้ความรุนแรงแบบต่างๆ
ความแตกต่างด้านชาติพันธุ์เป็นปัญหาที่ปรากฏในสังคมอเมริกันเช่นเดียวกับในสังคมไทย
อุดมการณ์เรื่องพหุวัฒนธรรมนิยมไม่อาจ “คุม” อคติเรื่องชาติพันธุ์ในภาคปฏิบัติของสังคมได้ทั้งหมด
ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกันนี้อาจารย์ธงรบ รื่นบรรเทิง เสนอบทความเรื่อง “พันธนาการของความเป็น
อื่น: การแสดงกับการท้าทายอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในบทละครเรื่อง Bondage ของเดวิด เฮนรี หวัง”