Page 30 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 30
๑
บทที่
โดยศึกษาและวิเคราะห์เชื่อมโยงกับมิติสิทธิ
แรงงาน ๕ มิติ คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สุขภาพ
และความปลอดภัยในการทำงานและเงินทดแทน การ
ประกันสังคม การรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม และ
การจ้างงานโดยไม่เป็นธรรม
๔. วิธีการศึกษา
๑. ประมวลและวิเคราะห์รายงานผลการตรวจ
สอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเรื่องร้องเรียนระหว่าง
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๐
๒. ประมวลแนวคิดและมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
และกฎหมายด้านแรงงานในประเทศไทย เพื่อประกอบ
การวิเคราะห์สิทธิมนุษยชน
๓. ประมวลข้อมูลจากการจัดการสัมมนาและการ
ประชุมกับองค์กรเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. สถิติการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานตั้งแต่ ปี ๒๕๔๔ - ๒๕๕๐
ในระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้รับ
มอบหมายจาก กสม. ให้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิแรงงานจำนวนทั้งสิ้น ๒๔๐ เรื่อง
คณะอนุกรรมการ จึงได้ประมวลเรื่องร้องเรียนทั้งหมดเป็นข้อมูลเชิงสถิติ โดยจำแนกเป็น ๓ หมวด
รายละเอียดอยู่ในภาคผนวก ๓ ดังนี้
(๑) จำนวนเรื่องร้องเรียนจำแนกตามพื้นที่ แบ่งเป็นสถิติระดับภาค สถิติระดับจังหวัด และ
๕ จังหวัดที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุด โดยภาคกลางสูงสุด จำนวน ๑๖๗ กรณี ภาคใต้น้อยที่สุด
จำนวน ๙ กรณี
(๒) จำนวนเรื่องร้องเรียนจำแนกตามปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๔ ถึง พ.ศ.๒๕๕๐ (๓๐ กันยายน
๒๕๕๐)
แยกตามปีที่มีกรณีร้องเรียน ดังนี้
ปี ๒๕๔๔ - ๒๕๔๖ จำนวน ๔๕ กรณี
ปี ๒๕๔๗ จำนวน ๔๗ กรณี
ปี ๒๕๔๘ จำนวน ๖๒ กรณี
ปี ๒๕๔๙ จำนวน ๕๓ กรณี
ปี ๒๕๕๐ จำนวน ๓๓ กรณี
(๓) จำนวนเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิจำแนกตามประเภทกลุ่มคนทำงาน ซึ่งประกอบ
ไปด้วย คนทำงานภาคเอกชน คนทำงานภาครัฐ คนทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ คนไทยไป
ทำงานต่างประเทศ และแรงงานข้ามชาติ (แรงงานต่างด้าว)
๓๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 30 7/28/08 8:45:12 PM