Page 30 - กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 30
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องไม่อาจด าเนินการได้เนื่องจากไม่อยู่ในหน้าที่
และอ านาจของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนนั้น หรือเป็นการร้องเรียนโดยใช้สิทธิไม่สุจริต หรือได้มีการ
แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว หรือมีเหตุจ าเป็นอื่นใดให้แจ้งให้คณะกรรมการทราบก่อนพ้นก าหนดเวลา
ตามวรรคหนึ่ง
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องมิได้ด าเนินการตามวรรคสองหรือวรรคสาม
ภายในระยะเวลาที่ก าหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้คณะกรรมการจัดท ารายงานเสนอคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเรื่องใดเป็นความผิดอาญาและผู้เสียหาย
ไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการ
มอบหมายมีอ านาจร้องทุกข์หรือกล่าวโทษได้โดยให้ถือว่าเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา
มาตรา ๓๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ใดพบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและจ าเป็น
ต้องด าเนินการโดยเร่งด่วน ซึ่งหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะเป็นภยันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของบุคคล
ซึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่มีทางเยียวยาได้ในภายหลัง กรรมการผู้นั้นอาจแจ้งให้หน่วยงานของรัฐ
ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามหน้าที่และอ านาจของ
หน่วยงานนั้นได้ แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ ในกรณีจ าเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้กรรมการผู้นั้น
อาจสั่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ
ตามที่เห็นสมควรได้
ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือต ารวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับค าสั่งตาม
วรรคหนึ่งที่จะต้องปฏิบัติตามค าสั่งนั้น
มาตรา ๓๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๖ ห้ามมิให้คณะกรรมการรับเรื่องที่คณะกรรมการพิจารณา
แล้วเห็นว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้ ไว้พิจารณา
(๑) เรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือเรื่องที่ศาลมีค าพิพากษา ค าสั่ง หรือค าวินิจฉัย
เสร็จเด็ดขาดแล้ว เว้นแต่เป็นการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบ หรือค าสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
(๒) เรื่องที่ไม่อยู่ในหน้าที่และอ านาจของคณะกรรมการ
(๓) เรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอ านาจขององค์กรอิสระอื่น หรือที่องค์กรอิสระอื่นรับไว้ด าเนินการ
ตามหน้าที่และอ านาจขององค์กรอิสระนั้นแล้ว แต่ไม่ตัดอ านาจในการที่จะขอรับทราบผลการพิจารณา
ขององค์กรอิสระที่รับเรื่องไว้ด าเนินการ
(๔) เป็นการร้องเรียนโดยใช้สิทธิไม่สุจริตและการพิจารณาจะไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
โดยส่วนรวม
(๕) เรื่องที่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมแล้ว
(๖) เป็นเรื่องที่คณะกรรมการเคยพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เว้นแต่
จะปรากฏพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงใหม่อันอาจท าให้ผลการพิจารณาเปลี่ยนแปลงไป
(๗) เรื่องอื่นตามที่คณะกรรมการก าหนด
ในกรณีที่ความปรากฏในภายหลังว่าเป็นเรื่องที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ
สั่งยุติเรื่อง
21