Page 68 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 68
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
๔.๑ ค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๑/๒๕๖๐ มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และหลักสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศ หรือไม่อย่างไร
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิจารณาแล้วเห็นว่า
๔.๑.๑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓ วรรคสอง
ได้บัญญัติหลักการส าคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อ านาจโดยมิชอบของ
องค์กรของรัฐไว้ โดยบัญญัติให้การใช้อ านาจของรัฐทุกองค์กรต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม และในการตรา
กฎหมายขององค์กรของรัฐ ยังต้องค านึงถึงมาตรา ๒๖ ซึ่งบัญญัติให้การใช้อ านาจในการตรากฎหมายเพื่อ
จ ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนนั้นแม้จะสามารถกระท าได้ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ
บัญญัติ อยู่ภายใต้หลักนิติธรรม และไม่เพิ่มภาระแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งบทบัญญัติในมาตรา
ดังกล่าว เป็นหลักการส าคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อ านาจของรัฐ
โดยประกันว่าองค์กรของรัฐทุกองค์กรจะใช้อ านาจตามหลักนิติธรรมและตามครรลองของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น
กฎหมายที่มีฐานะสูงสุดของประเทศ โดยนัยนี้ การใช้อ านาจขององค์กรของรัฐจึงหมายรวมถึงการใช้อ านาจ
ของหัวหน้า คสช. ในการออกค าสั่งโดยอาศัยอ านาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กรณีจึงมีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่า ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐
ออกโดยด าเนินการภายใต้หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา
๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง หรือไม่ ในปัญหานี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า
มาตรา ๔๔ ดังกล่าว ได้รับรองอ านาจของหัวหน้า คสช. ในการออกค าสั่ง ใน ๓ กรณี คือ
๑) กรณีที่หัวหน้า คสช. เห็นเป็นการจ าเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ
๒) การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
๓) เพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระท าอันเป็นการบ่อนท าลายความสงบ
เรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้น
ภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร
การออกค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๑/๒๕๖๐ ระบุเหตุผลความจ าเป็นว่า “ปัจจุบันพลังงาน
เป็นปัญหาส าคัญอย่างหนึ่งของสถานการณ์โลก ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ก าหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนให้มีการ
แสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานอย่างยั่งยืน รวมทั้งการด าเนินการด้านพลังงานทดแทนและพลังงาน
ทางเลือก เพื่อป้องกันการขาดแคลนพลังงาน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและลดการพึ่งพาการน าเข้า
พลังงานจากต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายในการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อพัฒนา
ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เป็นนโยบายส าคัญ
ของรัฐบาลในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจเช่นกัน แต่โดยที่ในการด าเนินการเพื่อให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล
มีความจ าเป็นต้องเข้าไปด าเนินการภายในที่ดินของรัฐบางประเภท โดยเฉพาะที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มี
๕๖