Page 66 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 66

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐

                  ความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือ
                  ภายนอกราชอาณาจักร ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบ

                  แห่งชาติมีอ านาจสั่งการระงับยับยั้ง หรือกระท าการใด ๆ ได้ ไม่ว่าการกระท านั้นจะมีผลบังคับในทาง

                  นิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ และให้ถือว่าค าสั่งหรือการกระท า รวมทั้งการปฏิบัติตาม
                  ค าสั่งดังกล่าว เป็นค าสั่งหรือการกระท า หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้และเป็นที่สุด

                  ทั้งนี้ เมื่อได้ด าเนินการดังกล่าวแล้ว ให้รายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีทราบ
                  โดยเร็ว


                                      ๓.๒.๔ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘

                                             เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศ

                  เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตร ที่ดินจึงเป็นปัจจัยส าคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของ
                  การผลิตทางเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเกษตรกรก าลังประสบความเดือดร้อนเนื่องจากต้องสูญเสีย

                  สิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบ ารุงรักษา
                  จึงท าให้อัตราผลิตทางเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ า เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจาก

                  ระบบการเช่าที่ดินและการจ าหน่ายผลิตผลตลอดมา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะความยุ่งยากทั้งในทางเศรษฐกิจ

                  สังคม การปกครองและการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก จึงเป็นความจ าเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้อง
                  ด าเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยด่วนที่สุด โดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินท ากิน และ

                  ให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด พร้อมกับการจัดระบบการผลิตและจ าหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม

                  เพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนองแนวนโยบายแห่งรัฐในการลดความเหลื่อมล้ า
                  ในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคม ตามที่ได้ก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ จึงจ าเป็นต้อง

                  ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

                                      ๓.๒.๕ ค าพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขด าที่ อ.๓๓/๒๕๕๗

                  คดีหมายเลขแดงที่ อ.๓๑๑/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๐ เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่
                  ของรัฐออกกฎโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


                                             ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                  เป็นคดีต่อศาลปกครองว่า ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เรื่อง การให้ความยินยอม

                  ในการน าทรัพยากรธรรมชาติในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งออกโดย
                  อาศัยอ านาจตามมาตรา ๑๙ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘

                  ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การใช้อ านาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

                  ตามกฎหมายการปฏิรูปที่ดิน รวมถึงการออกระเบียบใด ๆ เพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย จะต้อง
                  อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวเนื่อง

                  กับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น แต่เมื่อวัตถุประสงค์ของการออกระเบียบ





                                                            ๕๔
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71