Page 69 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 69

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐

                  สภาพไม่เอื้อหรือไม่เหมาะสมต่อการท าเกษตรกรรมอย่างคุ้มค่า” นั้น เมื่อพิจารณาเหตุผลความจ าเป็น
                  ในการออกค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ แล้ว ยังไม่ปรากฏชัดเจนว่าเป็นไปตามความมุ่งหมายของ

                  มาตรา ๔๔ ในข้อใด หากพิจารณาจากความมุ่งหมายในข้อ ๑ กล่าวคือ “เป็นการจ าเป็นเพื่อประโยชน์

                  ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ” คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า การอนุญาตให้เอกชนเข้าท า
                  ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อประกอบกิจการด้านพลังงาน หรือเพื่อการเหมืองแร่ ซึ่งเป็นรายย่อยเฉพาะราย

                  ยังไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับแนวทางการปฏิรูปประเทศทั้งด้านการปฏิรูปเกษตรกรรมหรือการปฏิรูป
                  พลังงานได้ ทั้งการปฏิรูปพลังงานไม่อาจเกิดได้จากการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตพลังงานหมุนเวียนขึ้น

                  ทดแทนพลังงานฟอสซิล แต่น่าจะอยู่ที่ความรับผิดชอบในการมีส่วนร่วมผลิตพลังงาน จึงพิจารณาได้ยากว่า

                  ค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๑/๒๕๖๐ เป็นไปเพื่อการปฏิรูปพลังงาน และเนื่องจากค าสั่งดังกล่าวมีผลกระทบต่อ
                  สิทธิของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘

                  ดังนั้น ในการด าเนินนโยบายของรัฐเพื่อให้สามารถน าที่ดินซึ่งรัฐเห็นว่าไม่เหมาะสมกับการท าการเกษตร
                  ไปให้เอกชนประกอบกิจการอื่นซึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ ควรต้องค านึงถึงความจ าเป็นตาม

                  มาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวในการออกเป็นค าสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งควรมีการพิจารณาถึงความ

                  ได้สัดส่วนในการออกค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ กับการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
                  ซึ่งหากรัฐได้ใช้วิธีการตามปกติในการตรากฎหมายแทนการออกเป็นค าสั่งหัวหน้า คสช. ก็จะท าให้เกิด

                  กระบวนการตรวจสอบ กลั่นกรองให้เกิดความรอบคอบในการตรากฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิและ
                  เสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้


                                ๔.๑.๒ ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ กระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน ในส่วนของสิทธิ

                  ในการครอบครองและท ากินของเกษตรกรผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามที่พระราชบัญญัติ
                  การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ บัญญัติรับรองไว้ การน าที่ดินที่มีผู้ครอบครองท าประโยชน์

                  โดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ไปให้บุคคลอื่นท าประโยชน์อย่างอื่น จึงต้องค านึงถึงสิทธิในการมีส่วนร่วม
                  ในนโยบายหรือกิจกรรมใด ๆ ของรัฐที่อาจมีผลกระทบต่อตนเอง ตลอดจนหลักการชดเชยเยียวยา

                  ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และได้รับการรับรองทั้งจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                  พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๗๗ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ

                  ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว


                                จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินส่วนใหญ่มีเกษตรกรเข้าท าเกษตรกรรมแล้ว
                  (พื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินประมาณ ๔๐ ล้านไร่ มีเกษตรกรเข้าท ากินแล้วประมาณ ๓๕ ล้านไร่) การน าพื้นที่

                  ในเขตปฏิรูปที่ดินให้เอกชนประกอบกิจการอื่นย่อมมีผลกระทบต่อเกษตรกรที่ได้ครอบครองท ากินในพื้นที่
                  อยู่แล้วอย่างแน่นอน ซึ่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐

                  มาตรา ๕๗ มาตรา ๕๘ และมาตรา ๗๗ รัฐต้องด าเนินกระบวนรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียก่อน

                  ด าเนินการ นอกจากนี้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทย






                                                            ๕๗
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74