Page 71 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 71
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ให้เห็นได้ว่า มีความได้สัดส่วนระหว่างการคุ้มครองสิทธิเกษตรกรกับประโยชน์ส่วนรวมของรัฐในการอนุญาต
ให้เอกชนเข้าท ากิจการอื่น (มีประโยชน์คุ้มค่ากับการกระทบสิทธิของเกษตรกร)
๕. ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและข้อเสนอในการ
แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นควรมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทาง
ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ
ค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ (๓) ดังนี้
๕.๑ ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๕.๑.๑ คณะรัฐมนตรีควรเสนอให้ คสช. พิจารณาทบทวนค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐
ให้สอดคล้องต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๓ วรรคสอง และมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่ง และความมุ่งหมายของมาตรา ๔๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
๕.๑.๒ คณะรัฐมนตรีควรเสนอ คสช. ให้ทบทวนค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐
ข้อ ๘ เนื่องจากการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อรองรับการประกอบกิจการอื่นที่มิใช่
เกษตรกรรม จะท าให้เจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดินเปลี่ยนแปลงไป แต่หากรัฐต้องการใช้พื้นที่ในเขต
ปฏิรูปที่ดินเพื่อจัดท ากิจการอื่นอันเป็นประโยชน์ส าคัญของชาติโดยส่วนรวม สมควรใช้วิธีเพิกถอนที่ดิน
บริเวณนั้นออกจากการเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งสามารถกระท าได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
๕.๑.๓ คณะรัฐมนตรีควรก าหนดมาตรการในการพิจารณาให้ความยินยอม
การเข้าท าประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎกระทรวง และระเบียบ
ที่ออกตามค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ โดยต้องด าเนินกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน
และเกษตรกรผู้มีส่วนได้เสีย ตามบทบัญญัติมาตรา ๕๗ และมาตรา ๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ก่อนการอนุญาตให้เข้าท าประโยชน์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าสิทธิของประชาชน
ผู้ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการอย่างอื่นในเขตปฏิรูปที่ดินจะได้รับการ
คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีนอกจากนี้ ในเรื่องการ
เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบควรมีการก าหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาที่ชัดเจนและคุ้มครองสิทธิของ
เกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบอย่างรอบด้าน มิใช่เพียงในเรื่องของการสูญเสียโอกาสจากการใช้ที่ดิน แต่หาก
การประกอบกิจการของเอกชนก่อให้เกิดผลกระทบในลักษณะอื่น เช่น ก่อให้เกิดมลพิษในสภาพแวดล้อม
ซึ่งส่งผลต่อการท าการเกษตรในที่ดินที่เกษตรกรได้ท ากินอยู่ จะต้องมีการชดเชยเยียวยาเกษตรกรผู้ได้รับ
ผลกระทบทั้งหมด เป็นต้น ทั้งนี้ การก าหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาควรพึงด าเนินกระบวนการ
๕๙