Page 63 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 63
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
ทุกชนิด ด้วยวิธีการที่เปิดเผย โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อม พร้อมกับร่วมมือกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาพลังงาน
๓๗
๓.๑.๓ แนวคิดเรื่องสิทธิเกษตรกร
การถือครองปัจจัยการผลิตอย่างมั่นคง เกษตรกรจ าเป็นต้องมีปัจจัย
การผลิต อาทิ ที่ดิน เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย อาหารสัตว์ หรือทรัพยากรต่าง ๆ ที่เข้ามาเกื้อหนุนให้มีการเพาะปลูก
หรือปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น จึงจ าเป็นต้องสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับเกษตรกรว่า ปัจจัย
การผลิตทั้งหลายจะไม่ถูกพรากเอาไปจากเกษตรกรหรือถูกผูกขาดไว้โดยใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ท าให้
เกษตรกรต้องซื้อปัจจัยการผลิตในราคาแพง
๓.๒ หลักการ แนวคิด หลักกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
๓.๒.๑ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ข้อ ๑ วรรค ๑
ประชาชาติทั้งปวงมีสิทธิก าหนดเจตจ านงของตนเอง โดยสิทธินั้น
ประชาชาติเหล่านั้นจะก าหนดสถานะทางการเมืองของตนโดยเสรี และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมของตนอย่างเสรี
ข้อ ๑ วรรค ๒
เพื่อจุดมุ่งหมายของตน ประชาชาติทั้งปวงอาจจัดการโภคทรัพย์และ
ทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่างเสรี โดยไม่กระทบต่อพันธกรณีใด ๆ อันเกิดจากความร่วมมือทาง
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการแห่งผลประโยชน์ร่วมกันและกฎหมายระหว่าง
ประเทศ ประชาชาติจะไม่ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพของตนไม่ว่าในกรณีใด
ข้อ ๒ วรรค ๑
รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะด าเนินการ โดยเอกเทศและ
โดยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและวิชาการ
โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการท าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้
กลายเป็นความจริงอย่างบริบูรณ์โดยล าดับ ด้วยวิธีการทั้งปวงที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมทั้งการ
ก าหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย
๓๗
จาก บทความเรื่อง “สิทธิเกษตรกร”(Farmers’ Rights) สิ่งที่ขาดหายไปจาก ร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรกรฯ
โดย ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
๕๑