Page 70 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 70

ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                                                      รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
                                            ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐

                  ได้เข้าเป็นภาคี ได้รับรองสิทธิของประชาชนในการยังชีพไว้ในข้อ ๑ วรรค ๒ และข้อ ๒ วรรค ๑
                  ว่าจะไม่ถูกลิดรอนโดยประการต่าง ๆ รวมถึงมาตรการทางกฎหมาย


                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีความเห็นว่า ค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓๑/๒๕๖๐
                  น่าจะขัดต่อหลักนิติธรรมและหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ถือว่า ใครครอบครองท าประโยชน์

                  ในที่ดินโดยชอบ ย่อมมีสิทธิท ากิน หรือหลักที่ว่า ใครท า ใครได้  อันเป็นหลักส าคัญของการปฏิรูปที่ดิน กรณี

                  จึงน่าจะไม่สอดคล้องต่อบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
                  ๒๕๕๗ หลักสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และหลักสิทธิ

                  มนุษยชนตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ดังได้กล่าวมาแล้ว

                                ๔.๒ ค าสั่งหัวหน้า คสช.ที่ ๓ ๑ /๒๕๖๐ กระทบต่อสิทธิของเกษตรกรตาม

                  พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ หรือไม่ อย่างไร

                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า ค าสั่งหัวหน้า คสช.

                  ที่ ๓๑/๒๕๖๐ มีผลกระทบต่อสิทธิของเกษตรกร โดยกระทบต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูป
                  ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ ที่มุ่งคุ้มครองการด ารงชีวิตของเกษตรกรซึ่งไม่มีที่ดิน

                  ท ากินหรือมีแต่ไม่เพียงพอ เพื่อให้สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิ
                  ดังกล่าวอาจถูกจ ากัดได้แต่ควรท าเฉพาะเท่าที่จ าเป็นอย่างยิ่ง การออกค าสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าวจะท าให้

                  ดุลยภาพของกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป และไม่สามารถด ารงเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน

                  เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ไว้ได้อีกต่อไป นอกจากนี้ การที่ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐ ให้อ านาจ
                  ในการออกกฎกระทรวง และระเบียบ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐

                  จึงมีผลเป็นการให้อ านาจเพิ่มเติมจากค าสั่งหัวหน้า คสช. ซึ่งอาจขยายไปกระทบสิทธิของเกษตรกรมากขึ้น
                  ในการด าเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นว่า หากรัฐบาลจะด าเนินนโยบาย

                  ด้านพลังงานโดยใช้ประโยชน์จากที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูป

                  ที่ดิน ฯ ก็จะเป็นกระบวนการที่ชัดเจนและเป็นไปตามหลักในการตรากฎหมาย ซึ่งต้องใช้หลักนิติธรรม
                  แต่การออกเป็นค าสั่ง คสช. ท าให้เกิดความไม่ชัดเจน เช่น ในเรื่องที่มาแห่งอ านาจในการออกกฎหมายล าดับ

                  รองเพื่อปฏิบัติตามค าสั่ง คสช. ฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังคงเห็นว่า
                  รัฐมีอ านาจในการจัดการที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน หากรัฐสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า รัฐได้ด าเนินการในที่ดิน

                  ในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘

                  แล้ว กล่าวคือ ได้ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนผู้ยากไร้ให้มีสิทธิท ากินในที่ดินแม้เป็นที่ดินของรัฐ
                  และหากรัฐด าเนินการน าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้เพื่อกิจการอื่นโดยไม่กระทบสิทธิดังกล่าว รัฐพึง

                  สามารถด าเนินการต่อไปได้ เช่น หากประชาชนที่ท ากินในเขตปฏิรูปที่ดินถูกกระทบจากการอนุญาตให้
                  เอกชนเข้าท าประโยชน์ในกิจการอื่น ได้มีการเยียวยาผลกระทบนั้นจนเป็นที่พอใจ หรือรัฐสามารถพิสูจน์









                                                            ๕๘
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75