Page 59 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 59
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเห็นควรศึกษากรณีค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐
เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๒. การพิจารณาเบื้องต้น
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า ค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐
อาจมีผลกระทบต่อสิทธิของเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินท ากินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ เนื่องจากค าสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่ให้น าที่ดิน
ในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการอื่นนอกเหนือจากการท าการเกษตร จึงเห็นควรจัดท า
ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา ๒๔๗ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๖๐
๓. การด าเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะมาตรการหรือ
แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมตลอดทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ
หรือค าสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ได้ศึกษาจากข้อเท็จจริง กฎหมาย หลักการสิทธิ
มนุษยชน เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังนี้
๓.๑ ข้อมูลประกอบการพิจารณา
๓.๑.๑ ค าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ ๓๑/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๓
มิถุนายน ๒๕๖๐ เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ
หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินท ากิน
และให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุดเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกรและลดความเหลื่อมล้ า
ทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคล ดังที่ได้จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
มาตั้งแต่ปี๒๕๑๘ นั้น ต่อมาความต้องการของประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลก
ซึ่งจ าเป็นต้องพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นอันมีความจ าเป็นอย่างยิ่งควบคู่กันไป
กับการแก้ปัญหาของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้น โดยยังคงหลักการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยที่ในปัจจุบันพลังงานเป็นปัญหาส าคัญอย่างหนึ่ง
ของสถานการณ์โลก ซึ่งรัฐบาลเองได้ก าหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนให้มีการแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงาน
อย่างยั่งยืน รวมทั้งการด าเนินการด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เพื่อป้องกันการขาดแคลน
๔๗