Page 60 - ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง
P. 60
ประมวลข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระหว่าง ตุลาคม ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐
พลังงาน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานและลดการพึ่งพาการน าเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ในขณะที่
นโยบายในการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศและกระจายการพัฒนาไปยังพื้นที่ต่าง ๆ เป็นนโยบายส าคัญของรัฐบาลในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ
เช่นกัน แต่โดยที่ในการด าเนินการเพื่อให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล มีความจ าเป็นต้องเข้าไปด าเนินการภายใน
ที่ดินของรัฐบางประเภท โดยเฉพาะที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีสภาพไม่เอื้อหรือไม่เหมาะสมต่อการ
ท าเกษตรกรรมอย่างคุ้มค่า ซึ่งในปัจจุบันได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเขตปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการ
ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ล้านไร่ ได้มีการยินยอมหรืออนุญาตให้เอกชนเข้าใช้
หรือหาประโยชน์ที่ดินตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นจ านวนเนื้อที่เพียงประมาณร้อยละ ๐.๑ ของเนื้อที่เขต
ปฏิรูปที่ดินทั้งหมดของประเทศ แต่การจะเข้าใช้หรือหาประโยชน์ที่ดินดังกล่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่น
นั้น ยังมีข้อจ ากัดทางด้านกฎระเบียบบางประการที่มีมาตั้งแต่ในยุคสมัยที่ความจ าเป็นส าคัญเร่งด่วนยังไม่
ปรากฏดังเช่นในปัจจุบัน ในบางเรื่องรัฐบาลก่อนหน้านี้ได้ให้สัมปทาน ยินยอมหรืออนุญาตให้มีการใช้
ประโยชน์ที่ดินในเขตดังกล่าวไปก่อนแล้วตามระเบียบจนมีการลงทุนมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เกิดการจ้าง
งานอย่างกว้างขวางและมีภาระผูกพันกับรัฐโดยเกษตรกรเองได้รับค่าตอบแทนหรือชดเชยการให้เข้าใช้
ประโยชน์ที่ดินจนเป็นที่พอใจ ทั้งบางแห่งมีการจัดท าบริการสาธารณะให้เกษตรกรในพื้นที่เหล่านั้น ตาม
หลักความรับผิดชอบต่อสังคม และก่อให้เกิดรายได้เสริมจากทางอื่นต่อเนื่องตามมาแก่เกษตรกรอีกด้วย
โดยประเทศชาติสามารถใช้ประโยชน์สาธารณะจากทรัพยากรในพื้นที่ดังกล่าว ประโยชน์ตอบแทนส่วนหนึ่ง
ตกเป็นรายได้ของท้องถิ่นนั้น ๆ รายได้ที่เหลือน าเข้ากองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเมื่อสิ้นสุด
เวลาเข้าใช้ประโยชน์แล้วก็ยังสามารถคืนที่ดินนั้นให้เกษตรกรน าไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น ท าเป็นแหล่งน้ า
เพื่อการเกษตร แหล่งเก็บน้ าตามโครงการแก้มลิง หรือเพื่อท าการเกษตรโดยตรง ตามปรัชญาของการปฏิรูปที่ดิน
หากยกเลิกพันธะผูกพันดังกล่าว เกษตรกรและประเทศชาติก็จะเสียประโยชน์ และเกิดการฟ้องร้องติดตาม
มาอีกมากมาย จึงจ าเป็นต้องลดข้อจ ากัดอันเป็นอุปสรรคดังกล่าวภายใต้หลักการใช้ที่ดินของรัฐให้
สมประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่ายทั้งแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ในขณะเดียวกัน การเข้าใช้
ประโยชน์ที่ดินนั้นต้องให้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคตกลับคืนสู่เกษตรกรในรูปแบบที่อาจแตกต่างไปจาก
เดิม นอกเหนือจากการท าเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ชัดเจน
โปร่งใสและเป็นธรรมแก่เกษตรกร
สาระส าคัญของค าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓๑/๒๕๖๐
๑) ในกรณีมีเหตุจ าเป็นเพื่อประโยชน์ด้านพลังงาน การใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติหรือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ ให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
มีอ านาจพิจารณาให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรมได้มาเพื่อประโยชน์ในการด าเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อด าเนินกิจการอื่นใด
นอกเหนือจากที่ก าหนดในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ในการพิจารณา
ให้ค านึงถึงยุทธศาสตร์ชาติ ประโยชน์แก่เกษตรกร และประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นส าคัญ
๔๘