Page 56 - รวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
P. 56
หน้า ๒๙
เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดให้ข้อมูลหรือให้ถ้อยคําในฐานะพยานตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
อันเป็นเท็จ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัย
หลักเกณฑ์และวิธีการการให้บําเหน็จความชอบ การกันเป็นพยาน การลดโทษและการให้ความ
คุ้มครองพยาน ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๗๔ ให้กรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง เป็นเจ้าพนักงานตามประมวล
กฎหมายอาญา และให้มีอํานาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญาเพียงเท่าที่เกี่ยวกับอํานาจและหน้าที่ของกรรมการสอบสวน และโดยเฉพาะให้มีอํานาจดังต่อไปนี้
ด้วยคือ
(๑) เรียกให้กระทรวง กรม ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือห้างหุ้นส่วน
บริษัท ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งผู้แทนหรือบุคคลในสังกัดมาชี้แจงหรือให้
ถ้อยคําเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
(๒) เรียกผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงหรือให้ถ้อยคํา หรือให้ส่งเอกสารและ
หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องที่สอบสวน
มาตรา ๗๕ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาเป็นหนังสือว่ากระทําหรือละเว้น
กระทําการใดที่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือต่อผู้มี
หน้าที่สืบสวนสอบสวนหรือตรวจสอบตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือเป็นการกล่าวหา
โดยผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น หรือมีกรณีถูกฟ้องคดีอาญาหรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญา อันมิใช่เป็น
ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทที่ไม่เกี่ยวกับราชการหรือความผิดลหุโทษ แม้ภายหลังผู้นั้นจะออกจาก
ราชการไปแล้วโดยมิใช่เพราะเหตุตาย ผู้มีอํานาจดําเนินการทางวินัยมีอํานาจดําเนินการสืบสวนหรือ
พิจารณา และดําเนินการทางวินัยตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้ต่อไปได้เสมือนว่าผู้นั้นยังมิได้ออกจากราชการ
แต่ทั้งนี้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ต้องดําเนินการสอบสวนตามมาตรา ๖๘
วรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นจากราชการ
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
ก็ให้งดโทษ
มาตรา ๗๖ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
จนถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือถูกฟ้องคดีอาญา หรือต้องหาว่ากระทําความผิดอาญา เว้นแต่เป็น
44 รวมกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล