Page 61 - รวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
P. 61
หน้า ๓๔
เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
(๘) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดต้องรับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุกใน
ความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจําคุกโดยคําสั่งของศาล ซึ่งยังไม่
ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
การสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.ร.
เมื่อผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดออก
จากราชการตามมาตรานี้แล้ว ให้รายงาน ก.ร. และให้นํามาตรา ๗๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๘๔ เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับ
ราชการทหาร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการ
ผู้ใดถูกสั่งให้ออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง และต่อมาปรากฏว่าผู้นั้นมีกรณีที่จะต้องถูกสั่งให้
ออกจากราชการตามมาตราอื่นอยู่ก่อนไปรับราชการทหาร ก็ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตาม
มาตรา ๔๒ มีอํานาจเปลี่ยนแปลงคําสั่งให้ออกตามวรรคหนึ่งเป็นให้ออกจากราชการตามมาตราอื่นนั้นได้
มาตรา ๘๕ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ไม่ใช้อํานาจตาม
มาตรา ๘๓ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ระดับเหนือ
ขึ้นไปมีอํานาจดําเนินการตามมาตรา ๘๓ ได้
มาตรา ๘๖ การออกจากราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ดํารงตําแหน่งที่ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตําแหน่งนับแต่วัน
ออกจากราชการ เว้นแต่ออกจากราชการเพราะความตายให้นําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ
ส่วนที่ ๗
การอุทธรณ์และการร้องทุกข์
มาตรา ๘๗ ผู้ใดถูกสั่งลงโทษตามพระราชบัญญัตินี้หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา ๘๓
(๑) (๓) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อ ก.ร. ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือ
ถือว่าทราบคําสั่ง
การอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๘ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเห็นว่าผู้บังคับบัญชาใช้อํานาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดย
ไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของ
ผู้บังคับบัญชาต่อตนในกรณีตามที่กําหนดในกฎ ก.ร. ผู้นั้นอาจร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาหรือ ก.ร.
รวมกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล 49