Page 53 - รวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
P. 53
หน้า ๒๖
เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
มาตรา ๖๓ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัย จะต้องได้รับโทษทางวินัย เว้นแต่
มีเหตุอันควรงดโทษตามที่บัญญัติไว้ในส่วนนี้
โทษทางวินัยมี ๕ สถาน ดังต่อไปนี้
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ตัดเงินเดือน
(๓) ลดเงินเดือน
(๔) ปลดออก
(๕) ไล่ออก
มาตรา ๖๔ การลงโทษข้าราชการรัฐสภาสามัญให้ทําเป็นคําสั่ง ผู้สั่งลงโทษต้องสั่งลงโทษ
ให้เหมาะสมกับความผิด และต้องเป็นไปด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติโดยในคําสั่งลงโทษ
ให้แสดงว่าผู้ถูกลงโทษกระทําผิดวินัยในกรณีใดตามที่กําหนดไว้ในกฎ ก.ร. ตามมาตรา ๖๑
มาตรา ๖๕ เมื่อมีการกล่าวหาหรือมีกรณีเป็นที่สงสัยว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทําผิด
วินัย ให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ทราบ
โดยเร็ว และให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
โดยเร็วด้วยความยุติธรรมและโดยปราศจากอคติ
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่
ตามวรรคหนึ่ง หรือปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สุจริตให้ถือว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัย
อํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ตามส่วนนี้ ผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ จะมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาระดับต่ําลงไปปฏิบัติแทน
ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ร. กําหนดก็ได้
มาตรา ๖๖ เมื่อได้รับรายงานตามมาตรา ๖๕ หรือความดังกล่าวปรากฏต่อผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ รีบดําเนินการ
หรือสั่งให้ดําเนินการสืบสวนหรือพิจารณาในเบื้องต้นว่ากรณีมีมูลที่ควรกล่าวหาว่าผู้นั้นกระทําผิดวินัย
หรือไม่ ถ้าเห็นว่ากรณีไม่มีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทําผิดวินัยก็ให้ยุติเรื่องได้
ในกรณีที่เห็นว่ามีมูลที่ควรกล่าวหาว่าข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดกระทําผิดวินัยโดยมี
พยานหลักฐานในเบื้องต้นอยู่แล้ว ให้ดําเนินการต่อไปตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ แล้วแต่กรณี
รวมกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล 41