Page 59 - รวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
P. 59
หน้า ๓๒
เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
(๓) ลาออกจากราชการและได้รับอนุญาตให้ลาออกหรือการลาออกมีผลตามมาตรา ๘๒
(๔) ถูกสั่งให้ออกตามมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๐ มาตรา ๗๖ มาตรา ๘๓ หรือมาตรา ๘๔
หรือ
(๕) ถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก
วันออกจากราชการตาม (๔) และ (๕) ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กําหนด
มาตรา ๘๑ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเมื่ออายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณ
และทางราชการมีความจําเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่ที่ต้องใช้
ความสามารถเฉพาะตัวในตําแหน่งตามมาตรา ๒๗ (๓) (ง) หรือ (จ) หรือ (๔) (ค) หรือ (ง) จะให้
รับราชการต่อไปอีกไม่เกินสิบปีก็ได้ตามที่กําหนดในกฎ ก.ร.
มาตรา ๘๒ ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการให้ยื่นหนังสือขอ
ลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งโดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่าสามสิบวัน
เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เป็นผู้พิจารณาก่อนวันขอลาออก
ในกรณีที่ผู้ประสงค์จะลาออกยื่นหนังสือขอลาออกล่วงหน้าน้อยกว่าสามสิบวันและผู้บังคับบัญชา
ซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เห็นว่ามีเหตุผลและความจําเป็นจะอนุญาตให้ลาออกตามวันที่ขอ
ลาออกก็ได้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ เห็นว่าจําเป็นเพื่อประโยชน์
แก่ราชการ จะยับยั้งการลาออกไว้เป็นเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขอลาออกก็ได้ในกรณีเช่นนั้นถ้าผู้ขอ
ลาออกมิได้ถอนใบลาออกก่อนครบกําหนดระยะเวลาการยับยั้ง ให้ถือว่าการลาออกนั้นมีผลเมื่อครบ
กําหนดเวลาตามที่ได้ยับยั้งไว้
ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มิได้ยับยั้งตามวรรคสาม
ให้การลาออกนั้นมีผลตั้งแต่วันขอลาออก
ในกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการเพื่อดํารงตําแหน่งในองค์กร
อิสระตามรัฐธรรมนูญ ตําแหน่งทางการเมือง หรือตําแหน่งอื่นที่ ก.ร. กําหนด หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง
รวมกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล 47