Page 60 - รวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
P. 60
หน้า ๓๓
เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชา
ตามวรรคหนึ่ง และให้การลาออกมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้นั้นขอลาออก
หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาออก การพิจารณาอนุญาตให้ลาออกและการยับยั้ง
การลาออกจากราชการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ร. กําหนด
มาตรา ๘๓ ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุตามมาตรา ๔๒ มีอํานาจสั่งให้ข้าราชการ
รัฐสภาสามัญออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญเหตุทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ
ข้าราชการได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดเจ็บป่วยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนได้โดย
สม่ําเสมอ
(๒) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทาง
ราชการ
(๓) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา ๓๗ ก. (๑) หรือ (๓)
หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๗ ข. (๑) (๒) (๓) หรือ (๖)
(๔) เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตําแหน่งที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติหน้าที่
หรือดํารงอยู่ สําหรับผู้ที่ออกจากราชการในกรณีนี้ให้ได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ที่กระทรวงการคลังกําหนดด้วย
(๕) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิด
ประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ
(๖) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดหย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการ
บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตําแหน่งหน้าที่ราชการ ถ้าให้ผู้นั้นรับราชการ
ต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
(๗) เมื่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใดมีกรณีถูกสอบสวนว่ากระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ตามมาตรา ๖๘ และผลการสอบสวนไม่ได้ความแน่ชัดพอที่จะฟังลงโทษตามมาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง
แต่มีมลทินหรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน ถ้าให้รับราชการต่อไปจะเป็นการเสียหายแก่ราชการ
48 รวมกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล