Page 243 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 243
8. เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบล อาศัยอํานาจตามาตรา 62 พระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 และมาตรา 16 (27) พระราชบัญญัติกําหนดแผนและ
้
ขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดูแล รักษา คุ้มครอง ปองกัน
ที่สาธารณประโยชน์ในฐานะสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
9.กรุงเทพมหานครอาศัยอํานาจตามาตรา 89 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ดูแล รักษา ที่สาธารณะ
้
10. หน่วยงานราชการอื่นที่กฎหมายให้อํานาจดูแล รักษา คุ้มครอง ปองกัน ที่สาธารณประโยชน์
ในฐานะสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น กรมเจ้าท่า อาศัยอํานาจตามมาตรา 117 พระราชบัญญัติการ
เดินเรือในน่านนํ้าไทย พ.ศ. 2546 (พ.ศ. 2535) กรมทางหลวง อาศัยอํานาจตามมาตรา 4
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 เป็นต้น
ภูมิรู้ของผู้เกี่ยวข้องทั้งประชาชนและผู้มีอํานาจตามกฎหมายบัญญัติมีที่มาของความรู้ทาง
ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นต่างกัน บนฐานความไม่สามารถรู้ทั่วเดียวกัน ประชาชนท้องถิ่นเรียนรู้
การมีอยู่และสิ้นสลายของทรัพยากรธรรมชาติจากประสบการณ์ตรง ดูแล รักษา ด้วยวิธีการทาง
ธรรมชาติ สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ ผู้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายเรียนรู้การมีอยู่และสิ้นสลายของ
ทรัพยากรธรรมชาติจากตําราวิชาการ จากการบอกเล่าของบุคคลอื่น จากการค้นคว้าหาความรู้ จากสื่อ
เทคโนโลยี จากการลงพื้นที่ จากสิ่งที่ปรากฏและสิ่งที่บุคคลอื่นทําให้ปรากฏฯ ปฏิบัติราชการตาม
นโยบายและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ผลัดเปลี่ยนตําแหน่ง โยกย้ายพื้นที่ ตามวาระปฏิบัติ
การปฏิบัติราชการตามสภาวะภูมิรู้ ภายใต้กรอบปฏิบัติและแรงกดดันจากสิ่งเร้ารอบด้าน
ส่งผลให้ผลการปฏิบัติราชการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอันเป็นที่ยอมรับ ขัดแย้งกับสภาพพื้นที่
พยานหลักฐาน และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เกิดการรุกรานสิทธิของบุคคลและชุมชนดั้งเดิม สร้างความขัดแย้ง
ให้เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐและประชาชน การแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากความผิดพลาดของการ
ปฏิบัติราชการไม่เท่าทันต่อการประทังชีวิตของประชาชน
4. ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายทั้งผืนดินและผืนนํ้าตกอยู่ในความครอบครอง ความเป็น
่
เจ้าของของรัฐ ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี ความอุดมสมบูรณ์ของปา ความสมดุล
่
ของระบบนิเวศทางธรรมชาติส่งผลให้เกิดทรัพย์ในดิน สินในนํ้า ผืนนํ้า ผืนปา แร่ธาตุ พันธุ์ไม้ พันธุ์พืช
่
พันธุ์สัตว์ ไม้หายาก ไม้เศรษฐกิจ สัตว์ทะเล สัตว์ปา สัตว์หายากนานาพันธุ์ ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิง
ั่
แหล่งพลังงานใต้พื้นดิน เกิดที่ดินทําเลงามทั้งที่ภูเขา ที่ชายฝง แวดล้อมด้วยธรรมชาติ อากาศบริสุทธิ์
สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากมายมหาศาล กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค เป็นสินค้าชั้นดี เป็นที่ต้องการ
ในตลาดทุน ผู้เห็นผลประโยชน์ต่างต้องการครอบครอง ต้องการเป็นเจ้าของ เพื่อความสมประโยชน์
แห่งตน
การปฏิบัติราชการต่อความต้องการผลประโยชน์ของมนุษย์ กรณีความต้องการขนาดน้อย
มักถูกดําเนินคดี ต้องคําสั่งทางปกครอง กรณีเป็นความต้องการขนาดใหญ่จะเป็นไปในลักษณะปล่อยเลย
6‐34