Page 245 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 245
นโยบายทั้งสามลักษณะเป็นนโยบายการสั่งการ กําหนดขึ้นโดยคนบางกลุ่ม ต่างความคิดต่าง
ั
ั
ความเข้าใจ ประชาชนในพื้นที่มิได้มีส่วนร่วมแสดงปญหา ความคิดเห็น และวิธีแก้ไข สภาพปญหาในพื้นที่
มิได้ถูกนําขึ้นกําหนดเป็นนโยบาย ที่ผ่านมานโยบายขาดความชัดเจนในวิธีการปฏิบัติราชการ
ั
ขาดแนวทางปฏิบัติเดียวกันในวิธีปฏิบัติและวิธีแก้ไขปญหา เมื่อผู้มีอํานาจหน้าที่และหน่วยงานที่
ั
รับผิดชอบต้องประสบระหว่างปฏิบัติการ มักแก้ไขทุกสภาวะปญหาด้วยการประสานขอความร่วมมือ
ั
จากหน่วยงานราชการหรือคณะทํางานหลายภาคส่วนเข้าร่วมใช้ดุลพินิจ หนึ่งปญหาต่างพื้นที่
ั
ต่างแนวทาง ใช้ระยะเวลาแก้ไขปญหาหลายสิบปี ดังข้อมูลจากคู่มือการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ
กําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารจัดการและ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เล่ม 1 การดูแลรักษาและคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์
กรมการปกครอง จัดทําโดยคณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี แสดงถึงสาเหตุหนึ่งของการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์มาจาก
นโยบายของรัฐไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน ไม่เด็ดขาด จริงจัง ไม่เป็นธรรม
กฎหมายที่สาธารณประโยชน์ รวมศูนย์อํานาจการบริหารจัดการ กําหนด จัดหา ตรวจสอบ
่
ไว้ที่การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่นเป็นฝาย
ปฏิบัติการ ปฏิบัติราชการตามคําสั่ง ตามดุลพินิจ มิได้บัญญัติถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
ั
ั
ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน ส่งผลให้ข้อเท็จจริง สภาพปญหาในระดับพื้นที่ ภูมิรู้
ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ความเป็นท้องถิ่น ความคิดเห็นประชาชน ไม่ปรากฏในเหตุผลของการบังคับใช้
กฎหมาย
เกิดการปฏิบัติราชการลักษณะรวมศูนย์อํานาจขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งผลดีและผลเสีย
ขาดไร้การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนภายใต้ผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการนํา
ข้อเท็จจริงหลายชุด ข้อเท็จจริงที่ยังมีข้อถกเถียง ยังไม่เป็นที่ยุติ ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้องกับ
ความเป็นจริงหรือสําคัญผิดในข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับพยานหลักฐาน ภูมิประวัติท้องถิ่น
นําพิจารณาตามอํานาจเพื่อออกคําสั่งทางราชการที่หลากหลาย ส่งผลให้คําสั่งทางราชการผิดจาก
ั
ความเป็นจริง ไม่สามารถแก้ไขปญหาที่เกิดขึ้น กระทบต่อชีวิตประชาชนในพื้นที่
6.5 บทสรุปและข้อเสนอแนะต่อปัญหาที่สาธารณประโยชน์
เจตนารมณ์การสงวนหวงห้ามที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 คือ
การสงวนหวงห้ามเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันของพลเมือง หากนําไปใช้อย่างอื่นทบวงการเมือง
รัฐวิสาหกิจหรือเอกชนต้องจัดหาที่ดินมาให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทนและการถอนสภาพหรือโอนให้
กระทําโดยพระราชบัญญัติ แต่ถ้าพลเมืองได้เลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นหรือที่ดินนั้นได้เปลี่ยนสภาพ
ไปจากการเป็นที่ดินสําหรับพลเมืองใช้ร่วมกันและมิได้ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใดตามอํานาจ
กฎหมายอื่นแล้ว การถอนสภาพให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกา
รัฐบาลมีนโยบายการคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์ร่วมกัน กระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นเรื่องการ
้
ดูแล รักษา คุ้มครอง ปองกัน ที่สาธารณประโยชน์ ขณะที่อํานาจการกําหนดที่สาธารณประโยชน์
6‐36