Page 244 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 244
เจรจาทําความเข้าใจ ยอมรับผลของความผิดนั้น และหากไม่มีการตรวจสอบจากกระบวนการ
ั
ภายนอกท้องถิ่น ปญหาที่เกิดขึ้นมักจะไม่ได้รับการแก้ไข
5. อํานาจ
อํานาจถูกมนุษย์สถาปนาขึ้นจากความคิด และความเชื่อ แสดงออกผ่านสิ่งที่มนุษย์เชื่อว่า
ให้อํานาจกระทํา เช่น กฎหมาย ด้วยการออกกฎ ระเบียบ คําสั่ง ให้ผู้ต้องกฎ คําสั่ง ปฏิบัติตาม เพราะคิด
้
และเชื่อว่ากฎหมายเป็นสัญลักษณ์เชิงอํานาจที่สําคัญที่สามารถนํามาใช้เป็นเครื่องมือในการปองปราม
ั
ความคิดและการกระทําของประชาชนเพื่อหวังผลแห่งการแก้ปญหาที่คิดว่าได้ผล
คณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ใช้อํานาจ
บริหารแสดงออกเป็นนโยบาย และมติคณะรัฐมนตรี ดําเนินการตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี
ผ่านสายการบังคับบัญชาตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินแบ่งเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค(ระดับจังหวัด) และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพียงเท่าที่กฎหมาย
ในความรับผิดชอบให้อํานาจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
่
สิ่งแวดล้อม ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(กรมปาไม้, กรมอุทยานฯ) กระทรวงพลังงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน, กรมชลประทาน, สํานักปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)
กระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง, กรมที่ดินฯ) กระทรวงคมนาคม (กรมการขนส่งทางนํ้าและ
พาณิชย์นาวี, กรมการขนส่งทางบก - อากาศ, กรมทางหลวง) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
กระทรวงกลาโหม (ตามภารกิจและเขตพื้นที่รับผิดชอบ) มีเจ้าหน้าที่ระดับกรม กอง เป็นผู้ปฏิบัติการ
อํานาจบริหารถูกตรวจสอบและถ่วงดุลย์ด้วยอํานาจนิติบัญญัติผ่านรัฐสภาแสดงเจตนาโดยการตรา
พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และอํานาจตุลาการผ่านศาล ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมาย
การใช้อํานาจเข้าปฏิบัติราชการปรากฏการใช้อํานาจตามกฎหมาย การใช้อํานาจที่ผิดไปจาก
ั
บัญญัติกฎหมาย ใช้อํานาจที่เกินพอดี ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ใช้อํานาจอันเป็นปฏิปกษ์ต่อพยานหลักฐาน
ใช้อํานาจสวนเสียงประชาชน และการไม่ใช้อํานาจต่อการกระทําอันมิชอบ ผลของการใช้อํานาจ
สร้างความขัดแย้งและความไม่เสมอภาคให้เกิดขึ้นแก่ชนทุกกลุ่มตั้งแต่ระดับพื้นที่ สั่งสมและบ่มเพาะ
ั
ปมปญหาจนลุกลามหลายชั่วคน
นโยบายที่สาธารณประโยชน์แบ่งได้สามลักษณะ 1.นโยบายเพื่อชาติ ต้องรักษาที่สาธารณประโยชน์
อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องการความแน่ชัดของการเป็นที่สาธารณประโยชน์ ต้องการ
ความแน่ชัดของเขตแดนที่สาธารณประโยชน์ เพื่อนําขึ้นทะเบียนที่สาธารณประโยชน์ เพื่อให้ประชาชน
ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ผลของการปฏิบัติตามนโยบาย ประชาชนขาดไร้ที่ดินทํากินเพราะถูกอ้างเป็นที่
ั
ั
สาธารณประโยชน์ ดังสภาพปญหาข้างต้น 2. นโยบายเพื่อราษฎร์ มุ่งจัดหาที่ดินทํากินเพื่อแก้ไขปญหา
ความยากจน ต้องการที่ดินเพื่อจัดให้ประชาชน ผลการปฏิบัติตามนโยบายทําให้ประชาชนขาดไร้ที่ดิน
ั
ทํากินเพราะถูกอ้างเป็นที่ดินที่รัฐสามารถนําไปจัดสรรให้กับประชาชน ดังสภาพปญหาข้างต้น
3. นโยบายการคุ้มครองที่สาธารณประโยชน์ร่วมกัน กระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นเรื่องการดูแล รักษา
้
คุ้มครอง ปองกัน ที่สาธารณประโยชน์
6‐35