Page 246 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 246

่
                       คงเป็นของฝายราชการแม้จะมีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมให้ท้องถิ่นร่วมกําหนดการเป็นที่
                                                             ั
                       สาธารณประโยชน์ แต่ทางปฏิบัติพบการไม่รับฟงความคิดเห็นราษฎร กีดกันการมีส่วนร่วมการดูแล รักษา
                                ้
                       คุ้มครอง ปองกัน ที่สาธารณประโยชน์ เช่นกรณีการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ราษฎรไม่สามารถ
                       แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตํารวจเนื่องจากไม่มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายต้องเป็นกํานัน
                       ผู้ใหญ่บ้าน
                              นโยบายเชิงปฏิบัติการ เป็นทางเลือกสําหรับการออกนโยบายเพื่อบ่งวิธีการปฏิบัติราชการ

                       ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เช่น การแสวงหาข้อเท็จจริงในความเป็นที่สาธารณประโยชน์ควรแก้ไข
                       ปรับปรุงวิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน เทียบเคียงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย
                       การสอบสวนเกี่ยวกับการบุกรุกที่หรือทางสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2539
                                                                                             ั
                              บทบัญญัติกฎหมายที่สาธารณประโยชน์ ยังไม่สอดรับกับรัฐธรรมนูญฉบับปจจุบัน ควรชําระ
                       และประมวลบทบัญญัติกฎหมายที่ดินทั้งหมด บ่งเนื้อหา อํานาจ และวิธีการบริหารจัดการตรวจสอบ
                       ที่ดินประเภทต่าง ๆ ให้สอดรับชัดเจนโดยประชาชนท้องถิ่นมีอํานาจและส่วนร่วมมากขึ้น

                              ข้อเสนอแนะ
                              1.  ให้มีการเร่งรัดสํารวจ รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบแนวเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
                       ทั่วประเทศให้สอดคล้องตามความเท็จจริง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อกําหนดขอบเขต

                       ที่สาธารณประโยชน์ให้ชัดเจน
                              2.  ให้หน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน
                                                                                                 ้
                       ในพื้นที่ในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน และร่วมกันเพื่อกําหนดมาตรการปองกันการ
                       บุกรุก และการเข้ายึดครอบครองโดยผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
                                                                ั
                              3. สร้างกลไกและกระบวนการในการแก้ไขปญหาข้อพิพาทความขัดแย้งในที่ดินสาธารณประโยชน์
                                                                                                    ั
                       ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน โดยประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดําเนินการแก้ไขปญหาใน
                       ทุกขั้นตอน
                                                                                          ั
                              4. ให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปญหาการบุกรุกที่ดิน
                                                               ั
                       ของรัฐ โดยให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปญหาด้วย ทั้งนี้ให้กําหนดแนวทางพิจารณาความขัดแย้ง
                                                                     ่
                       เรื่องที่ดินสาธารณะ โดยให้มีการตั้งคณะทํางานจากทุกฝายตรวจสอบข้อเท็จจริงและความเป็นมาของ
                       ที่สาธารณะให้ชัดเจน
                                                                                           ้
                              5. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปองกันและแก้ไข
                        ั
                       ปญหาการบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์และจัดสรรงบประมาณเพื่อดําเนินการจัดทําข้อมูล หลักฐาน
                       และข้อเท็จจริง ในจัดทําแนวเขตให้ชัดเจน














                                                                                                      6‐37
   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251