Page 241 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 241
เพียงคํากล่าวอ้างลอย ๆ ต้นทางความขัดแย้งทางข้อเท็จจริงเริ่มจากคนในท้องถิ่น ผู้มีอํานาจหน้าที่
ทางราชการส่วนท้องถิ่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหาร
ส่วนตําบล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯ ผู้มีอํานาจหน้าที่ทางราชการส่วนภูมิภาค เช่น ปลัดอําเภอ นายอําเภอ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ฯ และผู้มีอํานาจหน้าที่ทางราชการส่วนกลาง กระทรวง ทบวง กรม เช่น กรมที่ดิน
สํานักงานที่ดินจังหวัด เจ้าหน้าที่ที่ดิน เจ้าหน้าที่ที่ดินปฏิบัติราชการในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่รังวัดฯ
2. พยานหลักฐาน
พยานหลักฐานการเป็นที่สาธารณประโยชน์มีทั้งพยานหลักฐานทางธรรมชาติ เช่น แนวเขต
ธรรมชาติฯ พยานบุคคล บุคคลในท้องถิ่น พยานเอกสารทางทะเบียน และพยานหลักฐานทาง
เทคโนโลยี เช่น ภาพถ่ายทางอากาศฯ หลักฐานการสงวนหวงห้ามเริ่มจากบัญชีการสงวนหวงห้าม
ทะเบียนสํารวจที่หวงห้าม ประกาศกระทรวงมหาดไทย พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตหวงห้าม มติคณะกรรมการ
ั
จัดที่ดินแห่งชาติ และประกาศราชกิจจานุเบกษา ปจจุบันจัดระเบียบทะเบียนที่สาธารณประโยชน์
ด้วยการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงเพื่อเป็นหลักฐานให้แก่ทบวงการเมืองผู้มีอํานาจหน้าที่ดูแล
รักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เพื่อแสดงขอบเขตของที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของ
้
แผ่นดินและคุ้มครองปองกันการบุกรุก และเพื่อประโยชน์ทางนโยบายในการจัดทําทะเบียนที่ดิน
สาธารณประโยชน์ โดยนายอําเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดําเนินการจัดทําทะเบียนที่ดิน
สาธารณประโยชน์ (การออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง) ตามแบบที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
เสนออธิบดีกรมที่ดิน อาศัยอํานาจตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 8 ตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทนตามคําสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ 853/2535 เฉพาะในเขตจังหวัดรับผิดชอบ เว้นที่
ชายตลิ่ง ทางบก ทางนํ้า ลํากระโดง ลํารางสาธารณะ หรือทางระบายนํ้า รวมทั้งที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ในทํานองเดียวกัน ไม่ต้องจัดทําทะเบียน จัดทํา 4 ชุด เก็บรักษาหลักฐานไว้ที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น 1 ชุด อําเภอหรือกิ่งอําเภอ 1 ชุด สํานักงานที่ดินจังหวัด 1 ชุด กรมที่ดิน 1 ชุด
พยานหลักฐานการเป็นที่สาธารณประโยชน์เป็นสิ่งที่ใช้พิสูจน์และยืนยันข้อเท็จจริงถึงความ
เป็นที่สาธารณประโยชน์ ทางปฏิบัติการพิสูจน์และยืนยันข้อเท็จจริงกระทําได้ยาก เนื่องจากมีข้อเท็จจริง
หลายชุด ข้อเท็จจริงที่ยังมีข้อถกเถียง ยังไม่เป็นที่ยุติ ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ั
การสร้างขั้นตอนและเงื่อนไขการพิสูจน์ถูกผิด การรับฟง การชั่งนํ้าหนัก การให้เหตุผลทางพยานหลักฐาน
ของทางราชการ ความไม่ถูกต้อง ความขัดแย้ง และภูมิความรู้ของตัวพยานหลักฐาน ทําให้เกิด
่
พยานหลักฐานหลายชุดหลายฝายอ้างสิทธิการเป็นที่สาธารณประโยชน์ เกิดการซ้อนทับสิทธิในที่ดิน
ประเภทอื่นของประชาชน การใช้เทคโนโลยีพิสูจน์ความถูกผิดไม่สามารถกระทําได้โดยสะดวก
เนื่องจากงบประมาณมีจํากัด เกิดความล่าช้าในกระบวนการพิสูจน์ ความเชี่ยวชาญและความเท่าทัน
ในการพิสูจน์พยานหลักฐานจํากัดความสามารถเฉพาะตัวบุคคล ไม่เพียงพอต่อพยานหลักฐาน
ทั้งกระบวนการ เกิดข้อเท็จจริงที่ปราศจากพยานหลักฐานรองรับ ทางราชการนําใช้อ้างอิง
6‐32