Page 83 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 83

หรือข้อความโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ผู้กระทำาก็ไม่มีความผิด
            ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างดุลยภาพระหว่างเสรีภาพในการพูด การแสดงออก
            กับความรับผิดชอบในการทำาให้บุคคลอื่นเสียชื่อเสียง



                   DEFENDANT / DEFENDER                    จำาเลย

                  บุคคลที่ถูกฟ้องต่อศาล คำานี้ใช้ได้ทั้งในคดีอาญา และคดีแพ่ง
                  ในคดีอาญา  “จำาเลย”  หมายถึง  บุคคลที่ถูกฟ้องต่อศาลว่ากระทำา
            ความผิดอาญา  เพื่อขอให้ศาลลงโทษตามกฎหมาย  โดยผู้ฟ้องอาจเป็น
            บุคคล  หรืออัยการในบางประเทศใช้คำาว่า  “the  Accused”  แทน  คำาว่า
            “Defendant”

                  กฎหมายสิทธิมนุษยชนได้กำาหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐาน
            ของจำาเลยในคดีอาญาไว้หลายประการ  เพื่อให้จำาเลยมีสิทธิต่อสู้คดี
            อย่างเป็นธรรม รวมถึงสิทธิที่จะมีทนาย สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
            เป็นผู้บริสุทธิ์  ดังนั้นการควบคุมกักขังจำาเลยไว้ระหว่างการดำาเนินคดี
            โดยไม่มีเหตุผล  จึงเป็นการลิดรอนสิทธิของจำาเลย  อย่างไรก็ตาม
            การควบคุมตัวมีข้อยกเว้นได้บางกรณี เช่น จำาเลยจะหลบหนีไป หรือจะไป
            คุกคามข่มขู่พยาน เป็นต้น (ดู สิทธิในการประกันตัว THE RIGHTS TO
            RELEASE ON BAIL)

                  ในคดีแพ่ง “จำาเลย” หมายถึง ผู้ที่ถูกฟ้องต่อศาล เพื่อให้ชำาระหนี้ทางแพ่ง
            หรือขอให้ศาลสั่งให้กระทำาการ หรืองดกระทำาการอย่างใดอย่างหนึ่ง มาตรฐาน
            สิทธิมนุษยชนหลายอย่างไม่ครอบคลุมถึงจำาเลยในคดีแพ่ง  สิทธิขั้นพื้นฐาน
            บางประการสามารถปรับใช้ได้ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยศาล
            ที่เป็นธรรม (UDHR ข้อ 10) สิทธิที่จะไม่ถูกจำาคุกเพราะไม่ชำาระหนี้ทางแพ่ง
            (ICCPR ข้อ 11) เป็นต้น
                  อนึ่ง จำาเลยในคดีอาญา และคดีแพ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
            ก็ได้

                  คำาที่เกี่ยวข้อง THE ACCUSED, THE RIGHTS TO RELEASE
            ON BAIL


         72
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88