Page 85 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 85
เกินกว่าความจำาเป็นที่จะทำาให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการควบคุมตัว นอกจากนั้น
บุคคลที่ถูกควบคุมตัวต้องได้รับการประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามมาตรฐาน
ระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอีกด้วย
วัตถุประสงค์ในการควบคุมตัวโดยฝ่ายบริหารมีได้หลายประการ
เช่น การควบคุมตัวไว้ระหว่างการสอบสวนความผิด การควบคุมตัวผู้ดื่ม
สุรามึนเมาอาละวาด การควบคุมตัวผู้หลบหนีเข้าเมือง เป็นต้น
2. การกักขัง โทษอาญาประเภทหนึ่งที่ผู้ที่ถูกลงโทษจะถูกควบคุมตัวไว้
ในสถานที่กักขัง ที่กำาหนดไว้อันมิใช่ทัณฑสถาน สถานีตำารวจ หรือ
สถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน ในความหมายนี้
การกักขังนั้นจะต้องทำาโดยคำาพิพากษา
นอกจากนั้น คำาว่า “Detention” เมื่อใช้ประกอบกับคำานามอาจแปล
ได้หลายความหมาย เช่น
• Detention Centre สถานกักขังเป็นสถานที่สำาหรับบุคคลที่ถูก
พิพากษาตามโทษกักขัง
• Child Detention House สถานพินิจเด็กและเยาวชนเป็นสถานที่
สำาหรับควบคุมตัวเด็กและเยาวชนที่กระทำาความผิดอาญา ซึ่งตาม
มาตรฐานสิทธิมนุษยชนกำาหนดให้แยกออกจากทัณฑสถานสำาหรับ
นักโทษที่เป็นผู้ใหญ่
• Immigration Detention Centre ศูนย์ควบคุมตัวผู้เข้าเมือง
โดยผิดกฎหมายเป็นสถานที่ควบคุมตัวผู้เข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ให้เข้าเมืองตามกฎหมาย ซึ่งการเข้าเมืองที่ผิดกฎหมายไม่ถือว่า
เป็นอาชญากร
คำาที่เกี่ยวข้อง IMPRISONMENT, ARREST, CONFINEMENT,
INMATE
74