Page 78 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 78

DE JURE (LATIN)     โดยนิตินัย / ตามกฎหมาย

                  คำานี้อ่านว่า “เด-จู-เร”

                  สิ่งที่กฎหมายกำาหนด หรือรับรอง ซึ่งมักใช้อ้างเพื่อแสดงความชอบด้วย
            กฎหมายของการกระทำาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น โทษประหารชีวิตไม่เป็น
            วิธีการที่โหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมโดยนิตินัย / ตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติ
            ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2550  (ค.ศ.  2007)
            มาตรา 33

                  บางครั้งคำานี้ใช้เพื่อคัดค้านสิ่งที่เกิดขึ้นว่า  การปฏิบัติที่เป็นอยู่
            ไม่สอดคล้องกับกฎหมายโดยแสดงให้เห็นว่ากฎหมายมีอยู่อย่างไร  เช่น
            การคัดค้านว่ากระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ  เนื่องจากผู้พิพากษาไม่ได้นั่ง
            พิจารณาเต็มองค์คณะ  ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของศาลอันไม่สอดคล้องกับ
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007) มาตรา 40
            ที่กำาหนดว่า  “จำาเลยจะได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่ง
            พิจารณาคดีครบองค์คณะ”
                  คำาที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำานี้คือ “โดยพฤตินัย” หรือ “ตามข้อ
            เท็จจริง”  (de  facto)  บางครั้งจะใช้คู่กันว่า  “โดยนิตินัยและโดยพฤตินัย
            (de jure and de facto)”

                  คำาที่เกี่ยวข้อง DE FACTO



                     DEATH ROW                     แดนประหาร
                  สถานที่คุมขังนักโทษที่อยู่ระหว่างรอการประหาร ไม่ว่าจะเป็นนักโทษ
            ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตที่รออุทธรณ์หรือฎีกา หรือนักโทษ
            เด็ดขาด  (นักโทษที่ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต)  ที่อยู่ระหว่าง
            การยื่นฎีกาขอไว้ชีวิต หรือขอความเมตตา (Clemency) จากประมุขของรัฐ
            หรือนักโทษที่รอการประหารจริงที่คำาขอไว้ชีวิตได้รับการปฏิเสธแล้ว

                  แดนประหารมักจะถูกจัดให้อยู่ในเรือนจำา และแยกออกจากแดนควบคุม
            นักโทษทั่วไป หลายประเทศแยกขังเดี่ยวนักโทษที่รอการประหาร


                                                                        67
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83