Page 80 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 80
วัตถุประสงค์ในการจัดทำาคำาประกาศฯ คือ การผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง
ระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบกษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเทศฝรั่งเศสได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบ
สาธารณรัฐ หลังจากมีคำาประกาศฯ ไม่นาน
แนวคิดของการร่างคำาประกาศฯ มาจากหลักปรัชญาและแนวคิด
ทางการเมืองจากยุคเรืองปัญญา / ยุคสว่างทางปัญญา (Age of Enlightenment
หรือ Les lumie e` res) ได้แก่ ความเป็นปัจเจกชนและสัญญาประชาคม
>
บนพื้นฐานทางทฤษฎีของ จอห์น ล็อค (John Locke) นักปรัชญา
ชาวอังกฤษ และพัฒนาต่อมาโดยปราชญ์ชาวฝรั่งเศส ฌอง ฌาค รุสโซ
(Jean Jacques Rousseau) และหลักการแบ่งแยกอำานาจในการปกครอง
เป็นสามฝ่าย (อำานาจนิติบัญญัติ อำานาจบริหาร และอำานาจตุลาการ)
ของมงเตสกิเออ (Montesquieu)
คำาประกาศฯ ฉบับนี้ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีสิทธิธรรมชาติ โดยถือว่า
สิทธิดังกล่าวมีอยู่ไม่ว่าจะเมื่อใดและในที่ใด เนื่องจากเป็นสิทธิที่ตั้งอยู่บน
พื้นฐานธรรมชาติของมนุษย์
เนื้อหาในคำาประกาศของข้อ 1 ได้วางพื้นฐานปรัชญาทางสังคม
การเมืองและกฎหมายซึ่งภายหลังได้เป็นพื้นฐานของปรัชญาในการร่างปฏิญญา
สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดังนี้
“มนุษย์เกิดมาพร้อมกับอิสรภาพและความเสมอภาคกันในด้านสิทธิ
และจะดำารงสิ่งเหล่านี้ตลอดไป การทำาให้เกิดความแตกต่างทางสังคมจะ
สามารถทำาได้เพียงเพื่อประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม (Les hommes naissent et
demeurent libres et e e` gaux en droits. Les distinctions sociales ne
>
peuvent e e` tre fonde e` es que sur l’utilite e` commune)”
>
>
>
สิทธิขั้นพื้นฐานตามคำาประกาศฯ นี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ
ฝรั่งเศส และบุคคลสามารถยกสิทธิขึ้นอ้างในศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองได้
คำาที่เกี่ยวข้อง FRENCH REVOLUTION, UNIVERSAL
DECLARATION OF HUMAN RIGHTS, NATURAL RIGHTS,
DECLARATION OF VIRGINIA, MAGNA CARTA
69