Page 86 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 86

DIKA COURT                       ศาลฎีกา

                  ศาลยุติธรรมชั้นสูงสุดของประเทศไทย มีเขตอำานาจทั่วราชอาณาจักร
            มีอำานาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่มีการอุทธรณ์คำาพิพากษาหรือคำาสั่ง
            ของศาลอุทธรณ์ (Court of Appeal) ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วย
            การยื่นคำาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา  และมีอำานาจพิจารณาพิพากษาคำาพิพากษา
            หรือคำาสั่งศาลชั้นตั้น (Court of First Instance) ที่คู่ความสามารถอุทธรณ์
            ต่อศาลฎีกาได้โดยตรงตามกฎหมายเฉพาะ

                  นอกจากนั้น ศาลฎีกา ยังเป็นศาลที่มีอำานาจไต่สวนและพิจารณาคดีอาญา
            ของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007) (ดู THE CRIMINAL DIVISION FOR
            THE PERSON HOLDING POLITICAL POSITIONS)

                  คำาพิพากษาศาลฎีกาถือเป็นที่สิ้นสุด อย่างไรก็ตามในคดีอาญา กรณีที่
            มีข้อเท็จจริงใหม่ที่อาจมีผลต่อการวินิจฉัย โจทก์หรือจำาเลยสามารถยื่นขอให้
            มีการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้
                  คำาว่า “ศาลฎีกา” อาจแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “The Supreme Court
            of Thailand” หรือ “The Supreme Court”

                  คำาที่เกี่ยวข้อง  ADMINISTRATIVE  COURT,  COURT  OF
            JUSTICE, CONSTITUTIONAL COURT, CRIMINAL COURT



              DISSOLUTION POWER                 อำานาจในการยุบสภา
                  อำานาจตามกฎหมายที่ให้บุคคลหรือองค์กรใดมีอำานาจยุบสภานิติบัญญัติ
            ที่มีผลให้สถานะของสมาชิกสภานิติบัญญัติสิ้นสุดลงทั้งสภา  เพื่อให้มีการ
            เลือกตั้งทั่วไปรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้อำานาจ
            ยุบสภาเป็นของพระมหากษัตริย์ โดยการเสนอของฝ่ายบริหาร การยุบสภา
            จะต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา  และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้สนองรับ
            พระบรมราชโองการ  ดังนั้นโดยข้อเท็จจริงการยุบสภาจึงขึ้นอยู่กับการ
            ตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี



                                                                        75
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91